โรครากเน่าโคนเน่าในขนุน
เตือนภัยกษตรกรผู้ปลูกขนุน เฝ้าระวัง "โรครากเน่า?โคน?เน่า?ในขนุน"
Last Update : 10:07:29 17/10/2019
โรคสแคปในมะม่วง
โรคสแคปในมะม่วง? Mango scab สาเหตุ?เกิดจาก?เชื้อ?รา? Elsino?? mangiferae? Bitanc.? &? Jenkins
Last Update : 10:07:08 17/10/2019
หนอนเจาะฝักลายจุด
เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว เร่งเฝ้าระวัง หนอนเจาะฝักลายจุด (Bean pod-borer) เข้าทำลายถั่วฝักยาว ทั้งในระยะติดดอกและออกฝัก
Last Update : 13:41:22 17/07/2019
โรคราน้ำฝน
"โรคราน้ำฝน" ที่จะมาพร้อมกับฤดูฝนที่กำลังมา คาดน่าจะมีความรุนแรงและพบมากในพื้นที่จังหวัดตอนบนของประเทศ ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยาและตาก
Last Update : 11:40:46 17/07/2019
เพลี้ยอ่อน
ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรในหลายพื้นที่เริ่มเตรียมแปลงเพาะปลูกผักนานาชนิด ทั้งช่วงนี้กระแสราคาผลผลิตพืชผักราคาต่อกิโลกรัมสูงขึ้น
Last Update : 11:38:56 17/07/2019
แอ็กดิค
Brand : ยักษ์ใหญ่
Last Update : 10:30:18 30/01/2020
ออนเนอร์
Last Update : 12:04:56 01/04/2019
ไฟว์โกร
Last Update : 11:35:46 01/04/2019
แอ็กมิดา โกลด์
Last Update : 11:33:34 01/04/2019
คลอร์ดี
Last Update : 10:45:10 01/04/2019

แมลงหวี่ดำส้ม (Citrus blackfly)

Last Update: 16:02:27 22/11/2018
Page View (1804)

แมลงหวี่ดำส้ม (Citrus blackfly)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aleurocanthus woglumi Ashby

วงศ์: Aleyrodidae

อันดับ: Hemiptera

ลักษณะรูปร่าง

         แมลงหวี่ดำส้ม จัดเป็นแมลงจำพวกเดียวกันกับ "แมลงหวี่ขาวยาสูบ" ที่พบในพืชหลากหลายชนิด แต่สำหรับแมลงหวี่ดำส้ม มักพบในพืชตระกูลส้ม มะนาว แมลงหวี่ดำส้ม ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะมีสีดำ ตัวเต็มวัยว่างไข่ เป็นกลุ่มๆ ไข่เรียงกันเป็นวง มีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม ไข่กลมรีและยาว ระยะเข้าดักแด้จะสังเกตุเห็นได้ง่าย คือมีลักษณะแบนหลังนูน มีขนเส้นเล็กชี้ตั้ง รอบๆ ดักแด้ จะพบไขสีขาว ตัวเต็มวัยมีปีก และมักไม่ค่อยพบบนใบส้ม

         วงจรชีวิต ระยะไข่ อายุ 10-14 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 1 มีอายุ 7-16 วัน ลำตัวยาว 0.3 มม. กว้าง 0.15 มม. ตัวอ่อนวัยที่ 2 อายุราว 7-30 วัน ลำตัวยาว 0.4 มม. กว้าง 0.2 มม. ตัวอ่อนวัยที่ 3 อายุ 6-20 วัน ลำตัวยาว 0.87 มม. กว้าง 0.74 มม. ระยะดักแด้ อายุ 16-50 วัน ดักแด้เพศเมีย ยาว 1.24 มม. กว้าง 0.71 มม. ดักแด้เพศผู้ ยาว 0.99 มม. กว้าง 0.61 มม. ตัวเต็มวัย หลังจากออกจากดักแด้ จะสร้างไขปกคลุมตัว ภายใน 24 ชม. #การเข้าทำลาย ระยะตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบส้ม ทำให้ใบขาดความสมบูรณ์และยังส่งผลให้เกิดโรคราดำ และเมลาโนส

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลงด้วย แอ็กมิดา70 (imidacloprid 70% WG)(สารกำจัดแมลง กลุ่ม: 4A) อัตรา 10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ #ไฟว์โกร (fipronil 5% W/V SC) (สารกำจัดแมลง กลุ่ม: 2B) อัตรา 20-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร และควรผสมร่วมกับ ไวท์ออยล์ (white oil 67% EC) อัตรา 30-50 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ปิโตรเลียม ออยล์ (petroleum oil 83.9% EC) โดยพ่นต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง ห่างกัน ไม่เกิน 4-5 วัน

* ข้อควรระวัง: - ให้ผสม แอ็กมิดา70 (imidacloprid 70% WG) หรือ ไฟว์โกร (fipronil 5% W/V SC) ในน้ำก่อน และจึงผสม ไวท์ออยล์ หรือปิโตรเลียม ออยล์ เป็นลำดับสุดท้าย - ห้ามผสม ไวท์ออยล์ (white oil 67% EC) และ ปิโตรเลียมออยล์ (petroleum oil 83.9% EC) ร่วมกับสารประกอบทองแดง (copper hydroxide), กำมะถัน (sulfur), แคปแทน (captan), ไดเมทโทเอต (dimethoate), โอเมทโทเอต (omethoate) หรือ โกรเมท50 (phenthoate 50% W/V EC) เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช และควรงดเว้นพ่นสารดังกล่าว ก่อนและหลังพ่นไวท์ออยล์ (white oil 67% EC) หรือปิโตรเลียม ออยล์ (petroleum oil 83.9% EC) อย่างน้อย 30-45 วัน



 
© 2000-2008 CopyRight by AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.
Tel. 023082102  Fax. 023082487  Website. www.aggrogroups.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login