ผ้าทอที่แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้
วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้านั้น มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการนำวัตถุดิบหรือสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยประเภทของผ้าทอที่แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้สามารถแบ่งได้ดังนี้ พืช การทอผ้าจากเส้นใยที่มาจากพืชนั้นจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทยพบว่ามนุษย์ได้มีวิวัฒนาการของเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้ามาเป็นอันดับ ซึ่งในสมัยโบราณได้นำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความแข็งแรง เช่น ปอ ป่าน สับปะรด กล้วย เป็นต้น ประกอบกับการใช้ภูมิปัญญาอย่างชาญฉลาด โดยนำเส้นใยดังกล่าวมาแปรรูปจากการนำมาแช่น้ำให้ยุ่ยและใช้หินทุบ แล้วนำเส้นใยมาทักทอเป็นผืนผ้า ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อกันว่าป่านกัญชาเป็นเส้นใยที่เก่าแก่ที่สุดที่นำมาใช้ทอผ้า โดยป่านกัญชา เป็นพืชประเภทหนึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในเอเชียหรือเอเชียตะวันออก ซึ่งได้มีการขุดพบหลักฐานที่เป็นผ้าป่านกัญชาจากแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่นและเปอร์เซีย ปัจจุบันยังพบการทอผ้าจากเส้นใยต่างๆที่กล่าวมา เช่น การทอผ้าจากป่านกัญชาของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งหรือแม้วในประเทศไทยและชนกลุ่มน้อยในภาคใต้ของจีน การทอผ้าจากใยของต้นกล้วยในบอร์เนียว การทอผ้าจากใยสับปะรดในประเทศฟิลิปปินส์ (ซึ่งผ้าป่านใยสับปะรดของฟิลิปปินส์ได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นผ้าป่านแก้วที่ทนทาน สวยงาม และมีราคาแพง เป็นที่นิยมในสังคมชั้นสูง) นอกจากเส้นใยที่กล่าวมายังมีเส้นใยอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ?เส้นใยจากฝ้าย? โดยมนุษย์เริ่มมีการใช้เส้นใยฝ้ายมาถักทอเป็นผืนผ้าเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เดิมฝ้ายเป็นไม้ป่า แต่ต่อมามีการนำมาปลูกเพื่อนำปุยของฝ้ายมาใช้ในการทอผ้า เพราะฝ้ายมีเส้นใยที่อ่อนนุ่มจึงมีการใช้เส้นใยฝ้ายแทนเส้นใยจากปอในการทอผ้า อีกทั้งยังสามารถย้อมสีได้ง่ายกว่า ส่วนการทอผ้าจากฝ้ายในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยฝ้าย เป็นพืชที่ชาวบ้านปลูกไปพร้อม ๆ กับการปลูกข้าว ใช้เวลาประมาณ 6 - 7 เดือน จึงเริ่มเก็บดอกฝ้ายมาผึ่งให้แห้ง นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการทอเพื่อเป็นผืนผ้าต่อไป ซึ่งปัจจุบันการทอผ้าพื้นเมืองของไทยจากเส้นใยพืชที่นิยมคือ การทอผ้าจากฝ้าย เนื่องจากฝ้ายให้สัมผัสที่นุ่มสบาย ดูดความชื้น ซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี ย้อมสีได้ง่าย ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง แต่ถึงอย่างไรยังคงมีข้อเสียจากผ้าที่ทอมาจากเส้นใยฝ้าย คือ หดตัว ยับง่าย ไม่ทนต่อเชื้อรา แสงแดดและกรด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้นจนเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน สัตว์ เส้นใยที่มาจากสัตว์เป็นเส้นใยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการทอผ้า โดยเส้นใยที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ ไหมและขนสัตว์ โดยนักวิชาการเชื่อกันว่ามีจุดกำเนิดจากดินแดนอื่นนอกประเทศไทย ซึ่งไหมนั้นเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วนำไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น อินเดีย รวมทั้งดินแดน ต่าง ๆ ในเอเชีย และยุโรป สำหรับขนสัตว์เป็นวัสดุที่เหมาะกับอากาศหนาว เชื่อกันว่านำมาใช้ทำผ้าในยุโรปตอนเหนือก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ดินแดนอื่นๆ ไหม เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีคุณลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัว พิเศษกว่าเส้นใยประเภทอื่นๆตรงที่มีความเงางาม นุ่มเนียน เลื่อมมัน เมื่อทำมาทอเป็นผืนผ้าจะมีความเงางาม โดยเฉพาะการทอผ้าไหมของไทยที่มีความสวยงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก การได้มาซึ่งเส้นใยไหม เริ่มจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ฟอกล้างกาวไหม การย้อมสี จุ่มสีหรือแต้มสีตามความถนัด ต่อเนื่องสู่กระบวนการถักทอเส้นไหมให้เป็นผืนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สั่งสมสืบทอดกันมาจนได้เป็นผืนผ้าไหมที่มีความสวยสดงดงาม ใยจากแร่ธาตุ เส้นใยจากแร่ธาตุ เช่น แร่เงิน แร่ทอง เป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทอผ้าโดยเฉพาะผ้าสำหรับชนชั้นสูงหรือผ้าในราชสำนักในสมัยก่อน เช่น ? ผ้าเยียรบับ เป็นผ้าทอด้วยผ้าไหมสีควบกับไหมเงินหรือทอง ซึ่งใช้เส้นทองมากกว่าไหมพื้น นับเป็นผ้าที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้ทำเป็นผ้าทรงและตัดเป็นฉลองพระองค์ ? ผ้าเข้มขาบ เป็นผ้าที่ใช้ไหมทอควบกับทองแล่ง แล้วทอเป็นผ้ายกลายทั้งผืน โดยใช้ไหมพื้นกับเส้นทองขนาดเท่ากัน ? ผ้ากรองทอง เป็นผ้าถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองทั้งผืน นิยมนำมาทำเป็นผ้าทรงสะพักห่ม ทับผ้าสไบอีกทีหนึ่ง
Last Update : 11:20:23 22/04/2015
ลายที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าพื้นเมืองของไทย
อาจจะแยกได้ดังนี้ ๑. ลายเส้นตรง หรือเส้นขาด ในทางตรงยาว หรือทางขวาง เส้นเดียว หรือหลายๆ เส้น ขนานกัน ลายเส้นตรงทางขวางเป็นลายผ้าที่ใช้กันทั่วไปในแถบล้านนาไทยมาแล้วแต่โบราณ จะเห็นได้จากจิตรกรรมวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน และวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ลายเส้นตรงทางยาวมักพบในผ้านุ่งของคนไทยกลุ่มลาวโซ่ง ลาวพวน เป็นต้น ในภาคอีสาน ลายเส้นตรงยาวสลับกับลายอื่นๆ จะปรากฏอยู่ในผ้ามัดหมี่ ทั้งไหมและฝ้าย และบ่อยครั้งเราจะพบผ้ามัดหมี่อีสาน เป็นลายเส้นต่อที่มีลักษณะเหมือนฝนตกเป็นทางยาวลงมา หรือที่ประดับอยู่ ในผ้าตีนจก เป็นเส้นขาดเหมือนฝนตก หรือลายเส้นขาดขวางเหมือนเป็นทางเดินของน้ำ เป็นต้น ลายเส้นตรงทั้งเส้นขวางและเส้นดิ่งนั้น ยังเป็นลวดลายที่พบในผ้าของพวกลัวะ และพวกกะเหรี่ยงอีกด้วย ๒. ลายฟันปลา ลายนี้ปรากฏอยู่ตามเชิงผ้าของตีนจกและ ผ้าขิต ตลอดจนเป็นลายเชิงของซิ่นมัดหมี่ของผ้า ที่ทอในทุกๆ ภาคของประเทศไทย ชาวบ้านทาง ภาคอีสานเรียกว่า "ลายเอี้ย" ลายฟันปลา อาจจะปรากฏในลักษณะทางขวาง หรือทางยาวก็ได้ บางครั้งจะพบผ้ามัดหมี่ที่ตกแต่งด้วยลายฟันปลา ทั้งผืนก็มี นอกจากนี้ผ้าของชาวเขาเผ่าม้งทาง ภาคเหนือ จะใช้ลายฟันปลาประดับผ้าอยู่บ่อยๆ ๓. ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายกากบาท เกิดจากการขีดเส้นตรงทางเฉียงหลายๆ เส้นตัดกัน ทำให้เกิดกากบาท หรือตารางสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนหลายๆ รูปติดต่อกัน ลายนี้พบอยู่บนผ้าจก ผ้าขิต และผ้ามัดหมี่ โดยทั่วไปทุกภาคของไทย ในลาวและอินโดนีเซีย และบนพรมตะวันออกกลาง ยังพบบนลวดลายผ้าของชาวเขา เผ่าม้ง กะเหรี่ยง ในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย ๔. ลายขดเป็นวงเหมือนก้นหอย หรือตะขอ ลายนี้พบอยู่ทั่วไปเช่นกัน บนผ้าจก ผ้าขิต และผ้ามัดหมี่ของทุกภาค ชาวบ้านภาคเหนือ และภาคอีสานเรียกว่า "ลายผักกูด" ซึ่งเป็นชื่อของพืชตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่ง ในซาราวักของประเทศมาเลเซีย ก็เรียกว่าลาย "ผักกูด" เช่นกัน ลวดลายต้นแบบทั้ง ๔ ลายที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นลวดลายที่มีในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยังพบว่าเป็นลวดลายที่ตกแต่งอยู่บนภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ที่ขุดพบ ที่โคกพนม และที่บ้านเชียงอีกด้วย ลายก้นหอย (spiral) และลายตัวขอ (hook) เป็นลวดลาย และสัญลักษณ์ที่เก่าแก่มากในเอเชีย พบในบอเนียว และหมู่เกาะต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซีย และพบในศิลปะของพวกเมารี ในประเทศนิวซีแลนด์อีกด้วย สำหรับที่บ้านเชียงก็พบหลักฐานสำคัญเป็นแม่พิมพ์ดินเผา เข้าใจว่าใช้กลิ้งพิมพ์ลายผ้า ซึ่งมีลายเป็นเส้นขวาง เส้นยาว และเส้นฟันปลาด้วย
Last Update : 10:49:04 20/04/2015
ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทย
ผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยที่ทอกันตามท้องถิ่นต่างๆ ในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยลวดลาย และสัญลักษณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ผ้าในยุคปัจจุบันอาจไม่เข้าใจความหมาย และมองไม่เห็นคุณค่า ลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้ บางลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่น ไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในภาคอื่นๆ เช่น ลายเอี้ย ลายบักจัน ฯลฯ บางชื่อก็เรียกกันมาโดยไม่รู้ประวัติ เช่น ลายแมงมุม ลายปลาหมึก ซึ่งแม้แต่ผู้ทอก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมจึงเรืยกชื่อนั้น บางลวดลายก็มีผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ เช่น ลาย"ขอพระเทพ" เป็นต้น สัญลักษณ์ และลวดลายบางอย่าง ก็เชือมโยงกับคติและความเชื่อของคนไทยพื้นบ้าน ที่นับถือสืบต่อกันมาหลายๆ ชั่วอายุคน และยังสามารถเชื่อมโยงกับลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปะอื่นๆ เช่น บนจิตรกรรมฝาผนัง และสถาปัตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงในตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดี เป็นต้น บางลวดลายก็เป็นคติร่วมกับความเชื่อสากล และปรากฏอยู่ในศิลปะของหลายชาติ เช่น ลายขอ หรือลายก้นหอย เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นลายเก่าแก่แต่โบราณของหลายๆ ประเทศทั่วโลก หากเรารู้จักสังเกต และศึกษาเปรียบเทียบแล้ว ก็จะเข้าใจลวดลาย และสัญลักษณ์ในผ้าพื้นเมืองของไทยได้มากขึ้น และมองเห็นคุณค่าได้ลึกซึ้งขึ้น
Last Update : 10:35:33 20/04/2015
การทอผ้าในภาคกลาง
ในภาคกลางตอนบน (จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และ สุโขทัย) และภาคกลางตอนล่าง (จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ) มีกลุ่มชนชาวไทยยวนและชาว ไทยลาว อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงต่างๆ ของประวัติศาสตร์ไทย พวกไทยลาวนั้น มีหลายเผ่า เช่น พวน โซ่ง ผู้ไท ครั่ง ฯลฯ ซึ่งอพยพย้ายถิ่นเข้ามา เพราะสงคราม หรือสาเหตุอื่นๆ คนไทยพวกนี้ยังรักษาวัฒนธรรม และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไว้ได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงที่ใช้เทคนิคการทำตีนจก และขิต เพื่อตกแต่งเป็น ลวดลายบนผ้าที่ใช้นุ่งในเทศกาลต่างๆ หรือ ใช้ทำที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า ฯลฯ แม้ว่าในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนไปมาก คนไทยเหล่านี้ก็ยังยึดอาชีพทอผ้า เป็นอาชีพรองต่อจากการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก และเช่นเดียวกันกับผ้าในภาคเหนือ ลวดลายที่ ตกแต่งบนผืนผ้าที่ทอโดยกลุ่มชนต่างเผ่ากันใน ภาคกลางนี้ ก็มีลักษณะและสีสันแตกต่างกัน จนผู้ที่ศึกษาคุ้นเคย สามารถจะระบุแหล่งที่ผลิตผ้าได้จากลวดลายและสี การมัดหมี่เริ่มจากนำเส้นด้ายที่ได้จากฝ้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดด้วยเชือกบริเวณที่ต้องการเก็บไว้ (สมัยก่อนมัดด้วยเชือกกล้วย ซึ่งหาได้ง่ายเพราะทำเองได้จากกาบกล้วย ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้เชือกฝางพลาสติกแทน) เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงแต่ซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยช่างทอที่มีความชำนาญในการสร้างรูปแบบลวดลาย หลักการผสมสี และความเชี่ยวชาญในการทอผ้าเป็นอย่างมาก
Last Update : 15:13:00 16/04/2015
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายเข็มขัดนาค
Brand : ร้านบ้านมัดหมี่
Model : 4/2 006
ลายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
Last Update : 05:29:00 14/04/2015
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายไสลย์สี
Brand : ร้านบ้านมัดหมี่
Model : 4/2 005
การทอประณีต ผ้าคุณภาพ สีไม่ตก
Last Update : 05:25:23 14/04/2015
ผ้าทอสี่ตะกอ ลายขอพระเทพสีม่วง
Brand : ร้านบ้านมัดหมี่
Model : 4/2 001
เป็นลายใหม่ สีสรรสวยงาม การทอประณีต
Last Update : 16:05:54 09/04/2015
ผ้าทอสี่ตะกอ ลายขอพระเทพ
Brand : ร้านบ้านมัดหมี่
Model : 4/2 002
เป็นลายใหม่ สีสรรสวยงาม การทอประณีต
Last Update : 16:05:24 09/04/2015
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายผักแหว้น
Brand : ร้านบ้านมัดหมี่
Model : 4/2 007
ลายเอกลักษณ์ สามารถซักเครื่องได้
Last Update : 16:04:50 09/04/2015

:: Translation ::

:: Calendar News ::

:: Product By Categories ::
Product Category loading .... please wait!

 

Ranking
1057
Total View
103395

Products list by Category (Total 6 Products)

สินค้าแนะนำ (Recommend Products)
 
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายเข็มขัดนาค
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 006
ลายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
Last Update : 14/04/2558 05:29:00
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายไสลย์สี
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 005
การทอประณีต ผ้าคุณภาพ สีไม่ตก
Last Update : 14/04/2558 05:25:23
ผ้าทอสี่ตะกอ ลายขอพระเทพสีม่วง
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 001
เป็นลายใหม่ สีสรรสวยงาม การทอประณีต
Last Update : 09/04/2558 16:05:54
ผ้าทอสี่ตะกอ ลายขอพระเทพ
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 002
เป็นลายใหม่ สีสรรสวยงาม การทอประณีต
Last Update : 09/04/2558 16:05:24
ผ้ามัดหมี่ทอมือ ลายผักแหว้น
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 007
ลายเอกลักษณ์ สามารถซักเครื่องได้
Last Update : 09/04/2558 16:04:50
ผ้าทอมัดหมี่ ดอกพิกุล
Brand name:ร้านบ้านมัดหมี่
Model:4/2 003
ลายประจำจังหวัดลพบุรี
Last Update : 09/04/2558 16:02:53

First | Previous | Next | Last

© 2000-2008 CopyRight by 0top
Tel. 0898110442
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login