ปั๊มโมลี 02
Brand : highpump
Model : -
-
Last Update : 17:12:38 13/09/2010
ปั๊มโมลี 01
Brand : highpump
Model : -
-
Last Update : 17:10:58 13/09/2010
รถปั๊มบูมยาว 40 เมตร
Brand : highpump
Model : -
-
Last Update : 17:03:41 13/09/2010
รถปั๊มบูมยาว 32 เมตร
Brand : highpump
Model : -
-
Last Update : 17:03:31 13/09/2010
รถปั๊มบูมยาว 22 เมตร
Brand : highpump
Model : -
-
Last Update : 17:03:05 13/09/2010

:: Translation ::

:: Calendar News ::

:: Product By Categories ::
Product Category loading .... please wait!

 

Ranking
3415
Total View
34150

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Company Information :
 
Company name :   บริษัท ไฮปั๊ม จำกัด
HIGHPUMP CO., LTD.
 
Business Information :
 
Industry group :   Civil and Construction 
 
Business type :   Service provider 
 
 

Contact Information :

 
Address 1 :   122 หมู่ 3 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110
จังหวัด สมุทรสาคร
รหัสไปรษณีย์ 74110
State/Province :   สมุทรสาคร
Country :   ไทย
Postcode :   74110
Tel :   02-873-0808
Fax :   08-873-0799
 
Company Profile :
 

 


     รถปั๊มคอนกรีต โดยทีมงาน ไฮปั๊ม เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2550 เริ่มแรกให้บริการรถปั๊มคอนกรีตประเภทบูม ความยาว 22 เมตร ต่อมามีการปรับปรุงเครื่องจักรและ เพิ่มจำนวนรถปั๊มมากขึ้น เพื่อรองรับให้เพียงพอกับปริมาณลูกค้าที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันปีพ.ศ. 2553 ได้พัฒนาให้มีบริการทั้งรถปั๊มคอนกรีตประเภทบูม ความยาวตั้งแต่ 22, 32, 36 และ 40 เมตร รวมถึงรถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มโมลีอีกด้วย


     ผู้บริหารของบริษัท ไฮปั๊ม มีนโยบายในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งเครื่องจักรและทีมงานรถปั๊ม เพื่อความพึ่งพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ  ทางบริษัท ไฮปั๊ม หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสได้ให้บริการที่ตรงตามความต้องการของท่าน


ปั๊มคอนกรีต (CONCRETE PUMP) คืออะไร


     ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็น ,ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย


วิวัฒนาการของปั๊มคอนกรีต


     แนวความคิดเกี่ยวกับลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า


     หลังจากปี พ.ศ.2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484)ได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะท่อที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักมาก ยากต่อการเคลื่อนย้าย,


     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2488) ในยุโรป ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบูรณะประเทศ แต่ในสหรัฐอเมริกา ปั๊มคอนกรีตกลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการปั๊มคอนกรีตยังไม่แน่นอน และยังคงใช้วิธีลองผิดลองถูกอยู่


     ในปี พ.ศ.2500 ได้มีการนำปั๊มคอนกรีตแบบ 2 ลูกสูบ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้งาน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2508 ได้มีปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถมาใช้งานเป็นเครื่องแรก


     ภายหลังปี พ.ศ.2513 ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะท่อขนส่งคอนกรีตได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย และยังมีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องติดตั้งท่อบ่อย ๆ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่ายอีกด้วย


     จนกระทั่งปี พ.ศ.2525 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเยอรมันใช้ปั๊มคอนกรีตสำหรับลำเลียงคอนกรีต ประมาณ 50 % ของการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้างทั้งหมด


ปั๊มคอนกรีตในประเทศไทย


     ปั๊มคอนกรีตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย


     ในปี พ.ศ.2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น


     ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น


     1.ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น


     2.มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม


     3.มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น


     4.ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น


     5.อัตราค่าแรงสูงมากขึ้นรวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น


     จากข้อมูลปี พ.ศ.2532 พบว่า 10-15% ของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ในเขต กรุงเทพมหานคร ถูกลำเลียงผ่านปั๊มคอนกรีต


ประเภทของปั๊มคอนกรีต


     ปั๊มคอนกรีต (Concrete Pump) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันเครื่องปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทน รถเข็น , ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่สูง พื้นที่จำกัด หรือในที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตอื่นๆ รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็ว ในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย


     ปั๊มลาก (Trailer Pump) ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานจะติดพ่วงตัวปั๊มไปกับรถบรรทุก สู่บริเวณก่อสร้าง หลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณเข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ยากลำบาก


     ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump / Line pump) ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง


     ปั๊มบูม (Boom Pump) ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งานเพราะ เคลื่อนย้ายได้สะดวกและทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีตถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ


ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ปั๊มคอนกรีต


     1.ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ ในขณะที่ถ้าใช้วิธีการอื่น เช่นการใช้ทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ อัตราการเทคอนกรีตจะถูกจำกัดด้วยทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์


     2.ความสะดวกในการเท สามารถวางตัวปั๊มไว้บริเวณที่รถคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยังบริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก


     3.การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลืองน้อย เนื่องจากคอนกรีตที่สามารถใช้ได้กับปั๊มคอนกรีตนั้น จะต้องมีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผิวของคอนกรีตที่เทโดยปั๊มคอนกรีตนั้นค่อนข้างเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหลังจากการถอดแบบแล้ว


     4.ค่าแรงงานในการเทจะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีต โดยวิธีอื่น ๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าอีกด้วย เป็นผลให้ค่าแรงงานในการเทน้อยลง


     5.ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดจะลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วของปั๊มคอนกรีต ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะได้รับค่าจ้างเร็วขึ้น ลดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องเสียไป สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน


     6.คุณภาพของคอนกรีตในโครงสร้างดี ซึ่งเป็นผลมาจากคอนกรีตที่เทในแบบมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอและรวดเร็ว


 

 
Other information :
 
Capital Investment :   10,000,001 to 20,000,000  
Annual revenue :   not show  
Employee range :   0 - 50  
Estates :    
Map :   Click here to view company map.
Register capital :    
Total Asset :    
BOI :    
Raw material :    
Main Machinery :    
 
© 2000-2008 CopyRight by HIGHPUMP CO., LTD.
Tel. 02-873-0808  Fax. 08-873-0799  Website. -
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login