ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
ผลจากตัวยาสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของ ลูกประคบสมุนไพร
สมุนไพรจะช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ลดอาการบวมอักเสบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัว ลดการติดขัดของข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนทำให้เลือดลมเดินสะดวก
1. กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3. ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อ พังผืดยืดตัวออก
4. ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หลังจาก 24-48 ชั่วโมงไปแล้ว
สมุนไพร มีประโยชน์แก่หญิงหลังคลอด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มเติม ช่วยลดการอักเสบ บวม ปวดของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ทำให้รูขุมขนขยายออก สิ่งสกปรกถูกขับออกมา พร้อมกับเหงื่อและสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยชะล้าง สิ่งสกปรกเหล่านั้นให้ลื่นหลุดออกจากผิวหนังได้ง่าย ช่วยให้ผิวหนังต้านทานต่อเชื้อโรค ได้ดีขึ้น ทำให้ข้อที่ฝืดแข็ง ปวด คลายความปวดและฝืดลง
ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร
ในช่วง 24 -48 ชั่วโมงแรก ยังไม่ควรใช้การประคบสมุนไพร ในกรณีที่มีอุบัติเหตุอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้
ควรให้ผู้รับการประคบควรดื่มน้ำอุ่นๆ 1 แก้ว หลังจากนวดเสร็จ
ไม่ควรอาบน้ำทันที หลังจากประคบสมุนไพรเสร็จใหม่ ๆ เพราะ ร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (ระบบอุณหภูมในร่างกายจากร้อนเป็นเย็นทันทีทันใด) อาจเป็นไข้ได้
การประคบผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต เด็กและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และการตอบสนองช้า อาจทำให้ผิวหนังพองได้
การเก็บลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วัน หลังจากใช้แล้วควรผึ่งลูกประคบให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิดฝาให้แน่นแช่ตู้เย็นจะเก็บได้นานขึ้น ให้สังเกตถ้าลูกประคบมีเชื้อราปรากฏให้เห็นและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือสีเหลืองจางลง แสดงว่าตัวยาเสีย ไม่มีคุณภาพไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป เพราะจะใช้ไม่ได้ผล
ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
1. กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3. ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อ พังผืดยืดตัวออก
4. ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หลังจาก 24-48 ชั่วโมงไปแล้ว
วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร
- นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งประมาร 15-20 นาที เมื่อลูกประคบร้อนได้ที่แล้ว ก่อนนำมาใช้ประคบควรมีการทดสอบความร้อนโดยแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือก่อน และในช่วงแรกที่ลูกประคบยังร้อนอยู่ ต้องประคบด้วยความเร็ว ไม่วางลูกประคบไว้บนผิวหนังนาน ๆ เพียงแตะลูกประคบแล้วยกขึ้น แต่เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงสามารถวางลูกประคบได้นานขึ้นพร้อมกับกดคลึงจนกว่าลูกประคบคลายความร้อน แล้วจึงเปลี่ยนลูกประคบไปใช้ลูกใหม่แทน (ใช้แล้วนำไปนึ่งแทน)
ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร
- ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูดยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
- ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้
- หลังจากประคบสมุนไพรเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนัง และร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (ร้อนเป็นเย็นทันทีทันใด) อาจทำให้เกิดเป็นไข้ได้ |