เพวเทีย (Peltier) คืออะไร?
เพวเทีย (Peltier) คืออะไร? ..... เพวเทีย คูลเลอร์ (Peltier Cooler)
Last Update : 01:23:50 01/07/2011
เครื่องมือวัดความเร็วลม
ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์ การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่น นอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมง กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไมล์ (บก) ต่อชั่วโมง นอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ
Last Update : 23:09:17 07/06/2011
การวัดอุณหภูมิ
อุณหภูมินับเป็นพารามิเตอร์พื้นฐานตัวหนึ่งที่ต้องทำการวัดค่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในprocess control system ให้เป็นไปตามต้องการ
Last Update : 15:28:15 17/05/2011
พีเอชมิเตอร์ (pH meter) คืออะไร
การวัดค่า pH ถือว่าเป็นงานพื้นฐานที่จำเป็นและใช้กันอย่าง กว้างขวาง สำหรับในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในแทบทุก อุตสาหกรรม รวมถึงงานวิเคราะห์วิจัยระดับสูง ห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะต้องมีการวัดค่า pH
Last Update : 14:42:23 24/04/2011
เครื่องชั่งสารเคมี
เครื่องชั่ง (balance) เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ที่พบได้ทั่วไปในห้องปฏิบัติการ ใช้ในการชั่งสารให้ได้ปริมาณตามต้องการ โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นเครื่องชั่งแบบไฟฟ้า
Last Update : 14:41:23 24/04/2011
ตู้แช่ เก็บตัวอย่าง LOW TEMP FREEZER ขนาด 1000 LITE
Brand : DiLigent“
ตู้แช่ ตู้เก็บตัวอย่าง ตู้เย็น ทำด้วยแสตนเลส ทั้งแบบฝาแสตนเลส หรืแบบฝากระจก 2 ชั้น ควบคุมระบบ Digital ผลิตได้ตามแบบที่ต้องการ ทุกชนิด
Last Update : 01:40:16 09/01/2012
เครื่องกำจัด กลิ่น เชื้อโรค ฝุ่นละออง PT-200
Brand : scilution
Model : PT-200
เครื่องกำจัดเชื้อโรค เครื่องกำจัดฝุ่นละออง เราคือผู้ออกแบบและผลิต Electronic Air Filter ซึ่งทำงานในระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Field Media Filter) แบบ Non Ionizing Electronic Air Filtration ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สามารถกำจัด Airborne Pollutants Particle ตั้งแต่ 100-0.01-0.005-0.00125 ไมครอน และเรย์ดอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของ ผู้เชี่ยวชาญ และใช้งานในประเทศที่มี เทคโนโลยีสูงอย่างกว้างขวาง
Last Update : 03:14:57 26/12/2011
เครื่องฟอกอากาศ High Effective Air Quality Status Display Anion and Ozone Purifier (GL-8138)
Brand : scilution
Model : GL-8138
Product Description 1) Ozone output: 500 mg/h 2) Negative-ion output: 8*106 PCS/cm3 3) UV lamp power: 5W 4) HEPA nets, active carbon nets 5) 3 grades air volume adjustment 6) Temperature and humidity sensor 7) Air quality induction. 8) Air volume working state display, LCD display temperature and humidity, Air quality status display + touch-key control. 9) Timing function 10) Sensor, touch screen 11) remote control
Last Update : 01:56:51 26/12/2011
เครื่องวัดฝุ่น CLJ-BII Airborne Particle Counter (Laser Diode, Portable, Easy-to-operating)
Brand : -
เครื่องวัดฝุ่น, เครื่องวัดฝุ่นละอองและสิ่งแขวนลอยในอากาศ, เครื่องวัดละอองฝุ่น , เครื่องวัดฝุ่นละอองในอากาศ , เครื่องวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ , เครื่องตรวจวัดฝุ่น , วัดฝุ่น , เครื่องวัดฝุ่นในอากาศ , เครื่องมือวัดด้านสิ่งแวดล้อม, เครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละออง , Airborne Particle Counter, เครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง , handheld particle counter, เครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ , particle counters รุ่น CLJ-BIIAirborneParticle Counter (Laser Diode, Portable, Easy-to-operating)
Last Update : 23:50:12 14/12/2011

หลักการล้างเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ

Last Update: 13:40:27 24/04/2011
Page View (2176)

หลักการพื้นฐานในการล้างแก้ว (basic cleaning concepts)

หลักการล้างเครื่องแก้ว (basic cleaning concepts) การล้างเครื่องแก้วในการทำปฏิบัติการ นับเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลโดยตรงต่อความถูกต้องของผลการทดลอง สิ่งใดๆ ก็ตามที่มีความสกปรก สิ่งนั้นๆ จะต้องได้รับการทำความสะอาด และต้องไม่ลืมว่าบางสิ่งมองด้วยสายตาแล้วสะอาด แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นสะอาดเสมอไป ถ้าไม่แน่ใจว่าเครื่องแก้ว (glassware) ที่เรานำมาใช้นั้นสะอาดหรือเปล่า ให้ยอมสละเวลาล้างซักนิด ดีกว่าต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงเพื่อทำการทดลองใหม่ เพราะว่าผลการทดลองที่ได้นั้นผิดเพี้ยนไป หรืออาจเกิดการรวมตัวของสารเคมีที่ติดอยู่ที่เครื่องแก้ว และสารเคมีตัวใหม่ที่ใส่ลงไป เกิดผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซพิษ (toxic gas) หรือเกิดปฏิกิริยารุนแรงระเบิดได้ (explosion)

เราสามารถสังเกตอย่างง่ายด้วยตาเปล่าได้ว่าเครื่องแก้วสะอาดหรือเปล่า โดยดูจากหยดน้ำที่เกาะบนแก้ว หากน้ำเกาะแล้วมีลักษณะเป็นหยด แสดงว่าแก้วไม่สะอาด หากน้ำที่เกาะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ แสดงว่าแก้วนั้นสะอาด

จะเห็นได้ว่าเครื่องแก้วมีความจำเป็นต้องทำความสะอาดก่อนใช้งานเสมอ แต่ก็ไม่ควรใช้เวลาในการทำความสะอาดนานเกินไป หรือทำความสะอาดผิดวิธี จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ขั้นตอนการทำความสะอาด เหมือนกับจำเป็นต้องรู้ขั้นตอนต่างๆ ในการใช้เครื่องมือต่างๆ นั่นเอง โดยกรดจะใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่ติดอยู่บนเครื่องแก้ว ในทางตรงข้ามเบสจะใช้กลั้วสะเทินกรดที่เหลือในขั้นตอนสุดท้าย นอกจากนั้นในการทดลองวิเคราะห์หาปริมาณสารที่มีความเข้มข้นน้อยๆ (0.001 ppm) โดยเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง จะต้องมีระบบการล้างที่พิเศษกว่าปกติ

การทำความสะอาดเครื่องแก้ว (cleanning glassware) จะมีหลายขั้นตอนด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งสกปรกหรือสิ่งเจือปน เช่น ถ้าสิ่งสกปรกสามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำยาล้างจานและน้ำ อย่างน้อยก็มี 2 ขั้นตอนหรือมากกว่า คือ ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ตามด้วยล้างด้วยน้ำประปา สุดท้ายกลั้วด้วยน้ำกลั่น และตากแห้ง หรือถ้ามีเศษวัสดุติดอยู่ทีแก้ว  ก็ให้ใช้แปรงหรือผ้าเช็ดสิ่งสกปรกนั้นออกก่อน แล้วจึงทำการล้างตามปกติ เช่นเดียวกันหากมีการทากรีส (grease) หรือวาสสินกับเครื่องแก้วจะต้องกำจัดกรีสออกก่อนโดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ หลังจากนั้นจึงทำการล้างตามปกติ

ในบางครั้งเครื่องแก้วมีความสกปรกมากเนื่องจากสิ่งสกปรก หรือสารเคมีที่ใช้ในการทดลองเกาะที่ผิวแก้วได้อย่างเหนียวแน่น จำเป็นต้องละลายผิวแก้วออกบางส่วน เรียกว่า stripping โดยใช้กรดกัดแก้ว เป็นต้น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก ผลที่ตามมาคือแก้วจะบาง อายุการใช้งานจะสั้นลง โดยมากจะทำการ stripping กับเครื่องแก้วที่ไม่ใช้ในการวัดปริมาตร เช่น บีกเกอร์ ส่วนแก้วที่ใช้ในการวัดปริมาตรจะไม่ใช้วิธีนี้เพราะจะทำให้ปริมาตรเปลี่ยนไป ต้องทำการปรับเทียบมาตรฐานใหม่จึงจะนำมาใช้งานได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การล้างเครื่องแก้วจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เราจำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งสกปรกคืออะไร และจะละลายสิ่งสกปรกนั้นด้วยสารใด โดยหลักการละลายทั่วไปที่พูดติดปากกันว่า “like dissolved like” นั่นหมายความว่าสารที่จะละลายกันได้จะมีคุณสมบัติของความมีขั้วคล้ายกัน เช่น สารที่มีขั้วจะละลายได้ดีกับสารที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีกับสารที่ไม่มีขั้ว

สารละลายที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องแก้ว (cleaning glassware solution)
เมื่อไม่สามารถทำความสะอาดเครื่องแก้ว ด้วยวิธีการทั่วๆ ไปแล้วจำเป็นต้องใช้สารละลายที่มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ติด อยู่ในเครื่องแก้ว โดยอยู่ในมุมที่ทำความสะอาดได้ยาก เช่น การทำความสะอาดปิเปตต์ จะทำได้ยากเนื่องจากไม่สามารถนำแปรงล้างเครื่องแก้ว เข้าไปภายในปิเปตต์ได้ จึงต้องอาศัยการแช่ด้วยสารละลายที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้ว เป็นต้น ในการเตรียมสารละลายที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้วนี้ จำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ครบ เช่น ถุงมือ แว่นตา และระบบระบายอากาศ เพราะใช้สารเคมีที่อันตรายมากพอสมควร
1. สารละลายไดโครเมต-กรดซัลฟิวริก เตรียมได้โดยการผสมโซเดียมไดโครเมต (Na2Cr2O7.2H2O) 92 กรัม ละลายด้วยน้ำกลั่น 458 มิลลิลิตร จากนั้นค่อยๆ เติมกรดซัลฟิวริกเข้มข้น (H2SO4 conc.) ปริมาณ 800 มิลลิลิตร คนด้วยแท่งแก้วคนจนกระทั่งสารละลายเข้ากันดี จะได้สารละลายสีแดง ระหว่างการเทกรดซัลฟิวริกเข้มข้นลงไป สารละลายจะมีความร้อนเกิดขึ้นในปริมาณมาก จะต้องคนด้วยแท่งแก้วคนสลับกับการเทกรดลงไป หลังจากเตรียมเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนใช้งาน
2. สารละลายกรดไนตริกเจือจาง ที่มีความเข้มข้นประมาณ 10 % ใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้วต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นฝ้า โดยการแช่ด้วยกรดไนตริกเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
3. สารละลายกรดกัดทอง กรดกัดทองทำได้โดยการผสมกรดเกลือ (HCl) และกรดไนตริกเข้มข้น (HNO3) ในอัตราส่วน 3:1 โดยปริมาตร
4. สารละลายโพแทสเซียมหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัลกอฮอล์ (KOH/NaOH in alcohol) เตรียมได้โดยละลาย NaOH 120 กรัม หรือ KOH 150 กรัม ในน้ำกลั่น 120 มิลลิตร จากนั้นเติมเอทานอล (C2H5OH) ความเข้มข้น 95% ลงไปเพื่อทำให้มีปริมาตรเป็น 1 ลิตร
5. สารละลายไตรโซเดียมฟอสเฟต (Na3PO4) เตรียมได้โดยละลาย Na3PO4 57 กรัมและโซเดียมโอลีเอต 28.5 กรัม ในน้ำกลั่น 470 มิลลิลิตร เหมาะสำหรับกำจัดสารพวกคาร์บอน

 

 

แหล่งที่มา

http://glasswarechemical.com/category/cleanning-glassware/



 
© 2000-2008 CopyRight by Scilution Co.Ltd
Tel. 02 9648018,22-23  Fax. 02 9648019  Website. www.scilution.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login