อันตรายของไดออกซิน
Dioxins เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีมากกว่า 400 ชนิด
Last Update : 14:59:01 25/02/2011
ไดออกซิน
เมื่อไม่นานมานี้โลกต้องตื่นตะลึงกับสารพิษที่มีชื่อว่า “ไดออกซิน” (dioxin) สารตัวนี้เคยถูกนำมาใช้ในสงครามเวียดนามที่เรียกว่า “ฝนเหลือง” (Agent Orange) โดยเกิดจากผลผลิตส่วนเกินในสารฆ่าวัชพืชไดออกซินเป็นสารในกลุ่ม Aromatic ethers ประกอบด้วยออกซิเจน คลอรีน และเบนซีน 3 วงซ้อนกัน มีชื่อทางเคมีว่า 2, 3, 7, 8–tetrachlorodibenzo–p–dioxin และไดออกซินมีอนุพันธ์ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกันคือ สารพวก PCDDs (Polychlorinated dibenzo–p–dioxins), PCDFs (Polychlorinated dibenzofurans) และ PCBs (Polychlorinated biphenyls)
Last Update : 14:51:52 25/02/2011
ถุงกรอง
ไดออกซิน เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกกลุ่มสาร Chlorinated Dioxin หรือ Furan ไดออกซินสามารถสะสมในร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้เนื่องจากละลายในไขมันได้ดี ความเป็นพิษของไดออกซินถือได้ว่าเป็นสารเคมีอินทรีย์ที่มีพิษสูงสุดที่มนุษย์สร้างขึ้น รองจากกากกัมมันตรังสีปริมาณของไดออกซิน เพียงไม่กี่ส่วนในล้านล้านส่วนของไขมันในร่างกายของเรา ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ไดออกซินเป็นการคุกคามความปลอดภัยที่ไม่คาด คิดมาก่อน และเป็นความข้อกังวลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จนต้องกำหนดให้ไดออกซินเป็นวาระแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม มีการออกกฎเกณฑ์และ กำหนด ระดับควบคุมปริมาณการปลดปล่อยไดออกซินที่เข้มข้น ถุงกรอง เป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมในการควบคุมปริมาณการปลดปล่อยไดออกซินให้อยู่ในระดับที่รัฐบาลกำหนดเป็นขั้นตอน ที่สะดวกสามารถกำจัดไดออกซินและอนุภาคของแข็งเล็กๆต่างๆได้เพียงขั้นตอนเดียว โดยไม่ต้องติดตั้งระบบใดๆเพิ่มเติมทั้งค่าบำรุงรักษายังน้อยอีกด้วย การกำจัดไดออกซินด้วยวิธีนี้เป็นการประยุกต์ใช้หลักของพื้นผิวตัวกรองและคะไลลิสซ์ (Catalyst) เข้าด้วยกัน โดยพื้นผิวของ Filter จะถูกฉาบด้วย Polytetrafluoroethylene (ePTFE) และ Catalyst และติดตั้งอยู่ในโครง (Baghouse)ถุงกรองไม่เพียงแต่แยก Dioxin ออกจากแก๊สเท่านั้น แต่ยังกำจัดให้หมดไป เช่นเดียวกันกับระบบกำจัดแบบดูดซึมอย่าง Powder Activated Carbon (PAC) Filter ของถุงกรองเป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งดักจับโมเลกุลขนาดเล็กไว้ที่ผิวหน้า ส่วน Dioxin จะผ่านเข้า Filter และทำปฏิกิริยากับ Catalyst/ePTFE และถูกเปลี่ยนเป็น CO2, H2O และ HCl ประสิทธิภาพของถุงกรองดีกว่าระบบ PAC โดยสามารถลดปริมาณการปลดปล่อย Dioxin ได้ถึง 90% อีกทั้งยังประหยัดกว่า เนื่องจากในระบบ PAC จะต้องมีการกำจัดตัวดูดซึม Dioxin ทิ้งแบบขยะอันตราย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมาก ส่วนในถุงกรองไม่มีขยะอันตรายที่ต้องกำจัดเนื่องจาก Dioxin ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นแก๊สแล้ว มีเพียงโมเลกุลขนาดเล็กที่ดักจับไว้ที่ผิวหน้าของ Filter ซึ่งจะหลุดลงไปกักเก็บที่ Hopper ด้านล่างของโครงเมื่อทำความสะอาดเท่านั้น ดังนั้นการใช้ถุงกรองจึงส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านการ ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรอีกด้วย
Last Update : 17:19:47 24/02/2011
เตาย่างห่างมะเร็ง
Brand : MSE
Model : -
สำหรับประกอบอาหารประเภทย่างทั้งหมด เช่น หมูย่าง ปลาย่าง ลูกชิ้นย่าง ปลาหมึกย่าง มันย่าง ไส้กรอกย่าง ขณะทำการย่างจะไม่เกิดควัน ไม่เกิดไฟลุก ไม่เกิดการไหม้ไฟของอาหารเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงอยู่ในขณะนี้ได้อีกทางหนึ่ง ราคาเตาย่างห่างมะเร็ง ขนาดเล็ก 80 ลิตร ตะแกรงถ่านสแตนเลส ตะแกรงย่างสแตนเลส 1 ชั้น ราคา 2,200 บาท ขนาดเล็ก 80 ลิตร ตะแกรงถ่านสแตนเลส ตะแกรงย่างสแตนเลส 2 ชั้น ราคา 2,500 บาท ขนาดเล็ก 200 ลิตร ตะแกรงถ่านสแตนเลส ตะแกรงย่างสแตนเลส 1 ชั้น ราคา 3,500 บาท ขนาดเล็ก 200 ลิตร ตะแกรงถ่านสแตนเลส ตะแกรงย่างสแตนเลส 2 ชั้น ราคา 4,000 บาท
Last Update : 17:01:53 08/03/2011
อุปกรณ์เจาะดื่มน้ำมะพร้าวสด
Brand : MSE
Model : -
ใช้สำหรับเจาะดื่มน้ำมะพร้าวสดจากลูก ภายในเวลาไม่เกิน 1 วินาที
Last Update : 14:49:21 05/03/2011
ถุงกรองกำจัดไดออกซิน
Brand : MSE
Model : -
ถุงกำจัดไดออกซิน คือ อุปกรณ์ควบคุม ปริมาณไดออกซิน โดยการกรองด้วยเยื่อ เลือกผ่านที่ฉาบด้วย ePTFEและ Catalyst ทำให้ลดการปลดปล่อยได ออกซินได้ถึง 90%
Last Update : 13:55:02 05/03/2011
เครื่องย่อยลูกมะพร้าวสด
Brand : MSE
Model : -
สามารถย่อย ลูกมะพร้าวที่นำน้ำและเนื้อออกแล้วให้ เป็นชิ้นเล็กๆสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยหรือ ตากให้แห้งก็จะกลายเป็นพลังงานชีวมวล ใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆได้
Last Update : 17:08:37 03/03/2011
อุปกรณ์ควบคุมความดันภายในเตาเผา
Brand : MSE
Model : -
เมื่อความดันในเตาสูงขึ้นเกินกว่าที่เตา สามารถจะรับได้ เพื่อป้องกันการเกิดความ เสียหายแก่เตาหรือแก่ระบบ อุปกรณ์นี้ก็จะ ระบายความดันออกจากเตาตามค่าความ ดันที่กำหนด
Last Update : 16:24:03 03/03/2011

อันตรายของไดออกซิน

Last Update: 14:59:01 25/02/2011
Page View (2174)

      Dioxins เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีมากกว่า 400 ชนิด พบมีประมาณ 30 ชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดพิษ โดยตัวที่ก่อให้เกิดพิษสูงที่สุด คือ 2,3,7,8 -tetrachlorodibenzo-para-dioxin (TCDD)
Dioxins เป็นผลพลอยได้ (by-products) เกิดจากอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับน้ำมัน การฟอกกระดาษ การถลุงแร่ การผลิตสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก (PVC) การเผาขยะที่มีสารอินทรีย์ การสูบบุหรี่ การเผาไม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์ หรืออาจพบเกิดจากธรรมชาติจากการเผาไหม้ เช่น ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟระเบิด สาร Dioxins พบได้ทั้งในดิน น้ำ อากาศ และปนเปื้อนในอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ปู กุ้ง หอย เป็นต้น Dioxins เป็นสารที่สลายตัวได้ยาก ต้องเผาที่เตาเผาความร้อนสูง ที่อุณหภูมิสูงกว่า 850 oC
การปนเปื้อนของสาร Dioxins เคยมีรายงานการพบในปริมาณสูงในสัตว์ปีกและไข่ ในประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งคาดว่าเกิดจากการปนเปื้อนในอาหารสัตว์ และในปี 1997 ทางตอนใต้ของอเมริกามีรายงานการปนเปื้อนในเนื้อไก่ ไข่ และปลา ซึ่งมีสาเหตุจากการปนเปื้อนในอาหารสัตว์เช่นกัน

อันตรายของสารพิษไดออกซินกับร่างกายมนุษย์
สารไดออกซินสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้โดย ทางการหายใจสูดอากาศหรือฝุ่นละอองที่มีไดออกซิน หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารไดออกซิน โดยส่วนใหญ่มักพบในอาหารประเภทไขมันสูง


1.พิษเฉียบพลันในระยะแรกของการได้รับสัมผัสสารไดออกซินจะเกิดความผิดปกติที่ผิวหนัง (chloracne) คือทำให้ผิวหนังไหม้ดำ เป็นสิว เยื่อบุตาอักเสบ

2.พิษเรื้อรัง การได้รับสาร Dioxins ในระยะเวลานานๆจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ และที่สำคัญคือ อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ องค์กรวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer, IARC) ได้จัดสาร TCDD เป็นสารก่อมะเร็งโดยจัดอยู่ในกลุ่ม "Known human carcinogen" ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับสาร Dioxins ในอาหาร ในปี 1998 องค์การอนามัยโลกได้มีการทบทวนและกำหนดค่า TDI (Tolerable Daily Intake) ลดจาก 10 mcg/kilogram body weight เป็น 1 - 4 picogrammes/ kilogram body weight

การตรวจวัดหาสาร DIOXINS
สารไดออกซินเป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ดังนั้น โดยทั่วไปจึงไม่สามารถบอกได้ว่าในสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปนเปื้อนของสารไดออกซินหรือไม่ ในปริมาณเท่าใด การตรวจวิเคราะห์หาสารไดออกซินในปัจจุบันยังอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และต้องส่งตรวจในต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงมาก โดย กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ GTZ ได้เคยทำการสำรวจสารไดออกซินในอากาศเสียจากกิจกรรมและอุตสาหกรรม 7 ประเภท คือ เมรุเผาศพ เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ เตาเผามูลฝอยชุมชน อุตสาหกรรมรวมผลิตซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว และอุตสาหกรรมหลอมทองเหลือง พบว่าเมรุเผาศพ เตาเผามูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณสารไดออกซินสูงเกินมาตรฐาน แต่ก็มิได้สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการปลดปล่อยจากแหล่งอื่นในช่วงต้นปี 1990

วิธีการป้องกันร่างกายหรือลดความเสี่ยงจากสารพิษ DIOXINS

•ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งที่มีโอกาสของการปนเปื้อนสารไดออกซิน เช่น แหล่งอุตสาหกรรมที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ดังกล่าว
•หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือไม่อยู่ในขณะที่มีการเผาขยะหรือของเสีย
•ลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่มีโอกาสของการปนเปื้อนของสารไดออกซิน เช่น อาหารที่มีไขมันจากสัตว์ อาหารนมเนย ไข่ เนื่องจากสารไดออกซินสามารถละลายและสะสมในไขมันสัตว์ได้ดี
 

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา



 
© 2000-2008 CopyRight by Maintenance Service Engineering Co.,Ltd.
Tel. 029280908  Fax. 029280908  Website. www.ms-eng.co.th
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login