ประวัติช่างแคนสืบศักดิ์ ชาสงวน
ช่างสืบศักดิ์ ชาสงวน อายุ 49 ปี เป็นลูกของนายทองคำ กับนางนิตยา ชาสงวน ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของนายไกร แมดมิ่งเหง้า ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของบิดาแคนของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพ่อของแม่นั้นเอง นายสืบศักดิ์ ชาสงวนเริ่มสนใจแคนครั้งตอนอายุ 11 ปี
Last Update : 22:48:11 13/05/2015
ประวัติความเป็นแคนบ้านท่าเรือ
บ้านท่าเรือเป็นแหล่งผลิตแหล่งเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานบ้านท่าเรือ แคน พิณ โหวด โปงลาง ปี่ภูไท แหล่งที่ผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จนทำให้สื่อมวลชนตั้งสมยานามว่า "หมู่บ้านแห่งเสียงดนตรี" เป็นต้นมา
Last Update : 20:07:06 13/05/2015
เข็มกลัดแคน
Brand : บ้านช่างแคน
Model : can3333
Last Update : 14:33:09 15/07/2015
ที่ติดตู้เย็นรูปแคน
Brand : บ้านช่างแคน
Model : can2222
Last Update : 14:30:58 15/07/2015
แคนโชว์ใช้ประกอบการแสดง
Brand : บ้านช่างแคน
Model : can5555
Last Update : 17:59:22 01/06/2015
แคน 9 แคนวง
Brand : บ้านช่างแคน
Model : can 9111
Last Update : 14:11:34 24/05/2015
โหวดพวงกุญแจ
Brand : บ้านช่างแคน
Model : vote3000
Last Update : 12:12:25 14/05/2015

ประวัติความเป็นแคนบ้านท่าเรือ

Last Update: 20:07:06 13/05/2015
Page View (1759)

  ช่างทำแคนคนแรกนายคำโลน หรือนายโลน แสนสุริยวงค์ ทำแคน ดี ดังสวย ชาวบ้านเลยตั้งชื่อเพิ่มใหม่เป็น (ฟ้าคำโลน) เป็นบุตรของ นายชิน  นางมั่น แสนสุริยวงค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2451 บ้านยอดชาติ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่ออายุยังเด็กได้เดินทางติดตามพ่อคุณแม่มาอาศัยอยู่ที่ บ้านหนองแต้ (บ้านท่าเรือปัจจุบัน)อำเภอนาหว้า  เมื่อ อายุได้ 15 ปี ก็ได้กลับคืนไปอยู่บ้านเดิมที่อำเภอนาแก และได้ชวนเพื่อนไปด้วยกัน 2 คน คือนายลอง นายไกร แมดมิ่งเหง้า ขณะที่อยู่บ้านทั้ง 3 คน ได้เล่าเรียนวิชาเป่าแคนดนตรีจากนายเสน แสนสุริยวงค์ ซึ่งเป็นพี่ชายของนายโลน แสนสุริยวงค์ นายเสน แสนสุริยวงค์ ได้เล่าเรียนวิชาทำปี่ทำแคนดนตรีอีสานมาจากช่างแถวภูไม้ล้ม จากประเทศลาว โดยที่นายเสน แสนสุริยวงศ์ เป็นผู้นำมา ทั้ง 2 คนก็ได้เรียนฝึกวิชาช่างแคนทำปี่ จนเป็นที่เชี่ยวชาญแล้ว ทั้ง 2 คนก็ได้กลับคืนมาอยู่ที่บ้านหนองแต้ (บ้านท่าเรือ) อำเภอนาหว้า ก็ได้ทำปี่ ทำแคนเป็นอาชีพหลักจนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหมู่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาจึงทำการสอนประสิทธิประสาทวิชาการทำปี ทำแคนให้แก่ลูกหลานเพื่อนฝูง โดยมีการมีการยกอ้อยอครูคนละ 12 บาท หรือเรียกเป็นภาษาอีสานว่า ตั้งคาย อยู่มาไม่นานช่างโลนก็ได้มีภรรยา ชื่อนางแดง และมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน ชื่อนายทองคำ หรือ (ฟ้าคำยาน) ที่ชาวบ้านใช้เรียกขานอีกชื่อหนึ่ง ในขณะที่มีชีวิตได้สร้างคุณงามความดีไว้ให้แก่ลูกหลาน โดยเฉพาะการทำแคน และอาจารย์สอนแคนให้ชาวบ้านจนโด่งดัง สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านทุกครอบครัว เฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท ต่อครัวเรือน ขณะถึงแก่กรรม อายุ ได้ 82 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2523



 
© 2000-2008 CopyRight by seubsak can pin vote ponglang shop
Tel. 0894226683, 0872242977  Fax. -
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login