หลอดไฟฟ้า
ลักษณะของหลอดไฟฟ้าชนิดต่างๆ
Last Update : 17:10:59 15/04/2014
คุณสมบัติที่ดีของโคมไฟฟ้า
ทำความเข้าใจง่ายๆในการเลือกโคมไฟฟ้า
Last Update : 17:07:20 15/04/2014
ความรู้พื้นฐานทางด้านแสงสว่าง
ทำความเข้าใจปริมาณและสี ของแสงสว่าง
Last Update : 17:04:30 15/04/2014
การส่องสว่างภายใน
? ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มีความส่องสว่าง เพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ ? ระบบการให้แสงสว่างรอง คือการออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิดความสวยงาม หรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และ อารมณ์ ? การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้วระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง
Last Update : 16:48:31 15/04/2014
การใช้งานโคมไฟฟ้าแสงสว่าง
การเลือกรูปแบบของโคมไฟฟ้า การหาปริมาณแสงที่เหมาะสม
Last Update : 16:44:19 15/04/2014
โคมไฮเบย์ แอลอีดี BL-LED801
Brand : BestLight
Model : BL-LED801
หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน อายุการใช้งานนานถึง 100,000 ชั่วโมง ประกอบเสร็จพร้อมใช้งาน
Last Update : 15:22:30 03/05/2016
โคมไฮเบย์ หลอดเหนี่ยวนำ BL-IND801
Brand : BestLight
Model : BL-IND801
หลอดชนิดเหนี่ยวนำด้วยกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ความร้อนต่ำ อายุการใช้งานนานถึง 100,000 ชั่วโมง ประกอบเสร็จพร้อมใช้งาน
Last Update : 15:22:03 03/05/2016
อุปกรณ์ระบายความร้อนแอร์ ประหยัดพลังงาน IB-302hc
Brand : IceBerg
Model : IB-302hc
อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ช่วยระบายความร้อนเครื่องปรับอากาศด้วยระบบ "ฮีทเอ็กซ์เชนจ์" ประหยัดได้กว่า 10%
Last Update : 15:21:25 03/05/2016
โคมกล่องเหล็ก BL-502
Brand : BestLight
Model : BL-502
โคมไฟฟ้าชนิดรางกล่อง สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประกอบเสร็จพร้อมใช้งาน
Last Update : 15:20:53 03/05/2016
โคมสะท้อนแสงหน้าโค้ง BL-101n
Brand : BestLight
Model : BL-101n
ชุดรีแฟล็กท์สะท้อนแสงหน้าโค้ง กันน้ำกันฝุ่นและแมลง ปรับทิศทางแสงได้(ในชุดไม่มีหลอดไฟ)
Last Update : 15:20:23 03/05/2016

การส่องสว่างภายใน

Last Update: 16:48:31 15/04/2014
Page View (2173)


การส่องสว่างภายใน
________________________________________
• ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มีความส่องสว่าง
เพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ
• ระบบการให้แสงสว่างรอง คือการออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิดความสวยงาม
หรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และ อารมณ์
• การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้วระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง

การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพารต์เมนต์ และ โรงแรม
• แสงจากหลอดที่ให้แสงสีเหลืองดูน่าอบอุ่นสำหรับบ้านและโรงแรม
• ความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทั่วไปใช้ 100 - 200 ลักซ์
• โคมไฟส่องลงหลอดGLS 100 วัตต์ที่ความสูงฝ้า 2.4 - 2.7 เมตรติดตั้งห่างกัน
ทุกๆ ระยะ 2 - 2.5 เมตร ให้ความส่องสว่างที่พื้นเฉลี่ย 100 ลักซ์
• ไม่ควรใช้ไฟเกินกว่า 80 % ของอัตราสวิตช์หรี่ไฟ
• การใช้โคมไฟระย้าควรมีโคมไฟชนิดอื่นช่วยให้แสงหลักด้วยเพื่อลดเงาที่เกิดเนื่อง
จากโคมไฟระย้า
• โคมระย้าใช้ 20 -25 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์ และควรติดตั้งสวิตช์ไฟหรี่ด้วย
• การใช้โคมไฟระย้าควรระวัง ความสูงฝ้า และ นำหนักโคมระย้า
• โคมระย้าใช้ขนาดประมาณ 1/12 ของเส้นทะแยงมุมห้อง
• ช่องเปิดไฟหรืบควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า
• ไฟหรืบฟลูออเสเซนต์ใช้ 8 - 12 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์
• การให้แสงสว่างจากหรืบเพื่อส่องสว่างพืนที่ควรมีเพดานสีขาวหรือสีอ่อน
มิฉะนั้นแล้วแสงจากไฟหลืบที่เพดานเป็นสีทึบก็เป็นเพียงไฟตกแต่งเท่านั้น

การส่องสว่างในสำนักงาน
• สำนักงานทั่วไปมักใช้โคมไฟตัวสะท้อนแสงอะลูมิเนียม ห้องหรือบริเวณ
สำคัญที่ไม่ต้องการแสงบาดตาก็ควรใช้โคมแบบมีตัวกรองแสงขาวขุ่น
หรือแบบเกล็ดแก้ว( Prismatic Diffuser)
• ถ้าปิดเปิดไฟแสงสว่างของหลอดประเภทดิสชาร์จพร้อมๆ กันหลายๆ หลอด
ด้วยเบรกเกอร์ ไม่ควรใช้กระแสรวมมากกว่า 50% ของอัตราเบรกเกอร์
• ฟลูออเรสเซนต์ไม่เหมาะสำหรับเพดานที่สูงเกิน 7 เมตรขึ้นไป
เพดานที่สูงควรใช้โคมไฮเบย์ (High Bay)
• พื้นที่งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงมาก 1000 - 2000 ลักซ์
ควรให้แสงสว่างจากโคมตั้งโต๊ะหรือใต้ตู้แทนที่จะให้จากโคมที่เพดาน

ความส่องสว่าง
• ถ้าเพดานสูงน้อยกว่า 4 เมตร ควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์
• ถ้าเพดานสูงระหว่าง 4 - 7 เมตร อาจใช้โคมโลเบย์
• ถ้าเพดานสูงมากกว่า 7 เมตร ควรใช้โคมไฮเบย์
• การใช้หลอดเมทัลฮาไลท์ขนาดวัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกัน
อาจมีปัญหาในเรื่องสีของหลอดไม่เหมือนกันจนสังเกตได้
• การใช้หลอดปรอทความดันสูงอาจมีปัญหาในเรื่องแสงสีน้ำเงินที่
ออกมามากในช่วงติดตั้งเริ่มแรก แต่จะจางลงเมื่อติดตั้งไปหลายเดือนแล้ว
• การใช้หลอดโซเดียมในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ในกรณีไม่พิถีพิถันเรื่องสี
• การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือ
เคลื่อนย้ายเครื่องจักรหรือที่ทำงานตลอดเวลา
• การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเฉพาะบริเวณใช้กับงานที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย
• การให้แสงสว่างเฉพาะที่มักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูง
• การวางโคมฟลูออเรสเซนต์ให้วางแนวยาวตามทิศทางการมอง

ความส่องสว่างในโรงเรียน
• โคมประเภทมีครีบ(Fin Louver) ใช้ในโรงเรียนเพราะให้แสงบาดตาน้อย
• ห้องบรรยายควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้
o โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง
o ความส่องสว่างในห้อง 500 ลักซ์ และหน้าเวที 700 ลักซ์
o การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

ความส่องสว่างในโรงพยาบาล
• หลอดที่เหมาะสมสำหรับการตรวจรักษาโรคทั่วไปคือ
หลอดคูลไวท์ ยกเว้นโรคดีซ่านที่ใช้หลอดเดย์ไลท์เหมาะกว่า
• หลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลควรใช้หลอดเหมือนกันทั้งหมด
เพื่อไม่ให้หลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ข้างเคียงกัน
• โคมที่เหมาะสำหรับงานโรงพยาบาลในบริเวณที่มีคนไข้ คือโคมที่มีแผ่นกรอง
แสงขาวขุ่นหรือเกล็ดแก้ว แต่มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของโคมที่ใช้ไฟฟ้ามาก
• แสงสว่างในห้องผ่าตัดควรสว่างมากเพื่อไม่ให้ต่างมากจากไฟแสงสว่างผ่าตัด
• ควรมีไฟฉุกเฉินจากแบตเตอรีในกรณีที่ไฟดับหมดรวมทั้งที่มาจากเครื่องกำเนิดด้วย

ความส่องสว่างในพิพิธภัณฑ์
• วัตถุที่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 120000 ลักซ์-ชม./ปี
• วัตถุที่ไม่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 180000 ลักซ์-ชม./ปี

ความส่องสว่างในร้านค้า และ ศูนย์การค้า
• หลอดให้แสงทั่วไปที่เหมาะกับศูนย์การค้าควรให้แสงที่ส่องทุกสีเด่น
• บริเวณที่ต้องการให้เห็นวัสดุสีขาว เช่น เครื่องเขียนควรใช้หลอดแสงสีขาว
• การส่องเน้นสินค้าไม่ควรใช้แสงสว่างสมำเสมอ



 
© 2000-2008 CopyRight by Energy Saving Project Management Co.,Ltd.
Tel. 02-9205577, 02-920-5441-2  Fax. 02-920-5443  Website. www.bestlightgroup.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login