กระเทียม ประโยชน์ของกระเทียม
กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยหรืออาหารฝรั่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรสชาติให้อร่อยขึ้นแล้ว ยังมีคุณค่าต่อร่างกายอีกมากประโยชน์ รวมทั้งสรรพคุณทางยาอย่างดีโดยทราบกัน
Last Update : 22:46:00 30/10/2014
ประโยชน์และสรรพคุณของดอกอัญชัน
หากพูดถึง ?ดอกอัญชัน? แล้ว หลายคนอาจจะคิดเพียงแค่ว่า เป็นดอกไม้สวยๆ ชนิดหนึ่ง และมักนำเอามาใส่เป็นวัตถุดิบในการทำยาสระผม เพื่อบำรุงสุขภาพเส้นผมเพียงแค่นั้นทั้งหมดนี้ คือประโยชน์ที่แฝงอยู่ในดอกอัญชัน ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงามจริงๆ หากคุณคิดจะปลูกอัญชันไว้ใช้ประโยชน์ ยังสามารถปลูกได้ง่าย และวิธีการดูแลไม่ยุ่งยากอีกด้วย ถ้าหากบ้านมีรั้ว การใช้อัญชันซึ่งเป็นไม้เลื้อยมาปลูก ก็จะช่วยเพิ่มความสวยงาม ให้กับบริเวณบ้านได้อีกต่างหาก
Last Update : 23:38:32 16/10/2014
ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ กับความงาม ทั้งบำรุงผิว และบำรุงผม
สมุนไพรบางอย่างก็ปลูกได้ง่าย มีวิธีการดูแลไม่ยุ่งยาก และยังมีประโยชน์หลากหลายเลยทีเดียว อย่างเช่น ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพร ที่มีสรรพคุณสารพัดอย่างเลยทีเดียว โดยเฉพาะกับเรื่องของความงาม
Last Update : 22:50:21 14/10/2014
ข้อห้ามการกินเจ
ข้อต้องห้ามที่ครวละเว้นมี 5 ประการ
Last Update : 00:43:05 24/09/2014
นวดหน้าชะลอวัย
การนวดหน้าชะลอวัยเป็นการนวดกดจุดต่อมน้ำเหลืองเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ทั้งยังสามารถลดอาการบวมต่าง ๆ พร้อมทั้งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ได้ดี
Last Update : 12:21:34 16/02/2014
เก้าอี้นวดเท้า
Brand : naraprura
Last Update : 23:44:05 03/11/2014
อ่างล้างหน้าเซเรมิก
Brand : ์Naraprura
อ่างล้างหน้าเซเรมิก ด้วยดินขาว เผาด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 1000 องศา ผลิตด้วยลวดลายที่ความปราณีต หรูหรา เหมาะกับการตบแต่งบ้าน หรือร้านค้าที่ชอบความไม่เหมือนใคร
Last Update : 23:17:59 07/10/2014
ผ้าปิดปาก
Brand : Naraprura
ผลิตผ้าปิดปากทำด้วยผ้า COTTON เบอร์ 32 เย็บ 2 ชั้น
Last Update : 23:50:00 02/03/2014
ผ้าไมโครไฟเบอร์
Brand : Naraprura
ผ้าไมโครไฟเบอร์ ขนาด 40 x 40 ซ.ม.
Last Update : 01:34:36 02/03/2014
กระดาษทิชชู
Brand : River Pro
ผลิตจากกระดาษขาวบริสุทธิ เนื้อกระดาษเหนียว หนานุ่ม ใช้ได้ต่อเนื่องจนหมด มาตรฐาน 9001
Last Update : 00:21:39 02/03/2014

สมุนไพร คืออะไร?

Last Update: 22:24:21 28/09/2012
Page View (1773)

สมุนไพร คืออะไร?

คำว่า "สมุนไพร (herbs)"  มีคำจำกัดความได้หลายอย่าง  ขึ้นกับว่าใช้กับเนื้อหาอย่างไร  ทางด้านพฤกษศาสตร์  HERBS หมายถึงพืชมีเมล็ดที่ไม่มีแก่นไม้ (nonwoody)  และตายเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูก  ทางด้านอาหาร  HERBS หมายถึงเครื่องเทศหรือผักที่ใช้แต่งรสหรือกลิ่นอาหาร  แต่ทางด้านยา HERBS มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง  คำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุดของ  HERBS คือ ยาที่มาจากพืช  ใช้รักษาโรคซึ่งมักเป็นโรคเรื้อรังหรือเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ด้านกฎหมายสมุนไพรยังจัดเป็นกลุ่มพิเศษ  คือ กลุ่มอาหาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  หากสมุนไพรใช้เพื่อการรักษาหรือบรรเทาอาการโรค  หรือใช้เสริมสุขภาพ (เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยหรือป้องกันโรค)  จะจัดเป็นยา  อย่างไรก็ดีมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำนวนหนึ่งที่เป็นยาหรืออาหารหรือเป็นทั้งยาและอาหาร  ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ใช้  ตัวอย่างเช่น  กระเทียม  หากใช้เพื่อแต่งกลิ่นและรสอาหาร  กรณีนี้ชัดเจนว่า  กระเทียมเป็นอาหาร  เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมควบคุมความดันโลหิตหรือระดับโคเลสเตอรอลที่สูง  กรณีนี้กระเทียมจัดเป็นยา (ในประเทศเยอรมนี)  และจัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ในสหรัฐอเมริกา)  จึงเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคบางรายใช้กระเทียมเป็นทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกัน  ชาวอเมริกันดื่มน้ำพรุนเป็นเครื่องดื่มยามเช้า  และเป็นยาระบาย

 

คุณภาพของสมุนไพร

สิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องสมุนไพร  คือ  ความถูกต้องของพืชสมุนไพรและคุณภาพที่เหมาะสม  สมุนไพรต้องไม่มีการปนปลอม  (Adulterant)  หรือเป็นสมุนไพรทดแทน (Substitution)  สมุนไพรที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันเคยปรากฏอยู่ในเภสัชตำรับ  เช่น  USP (The United States Pharmacopeia) และ NF (The National Formulary)  ในรูปโมโนกราฟ (monograph)  ซึ่งถือเป็นมาตรฐานของสมุนไพร 

โลกสมุนไพรปัจจุบันยังขาดมาตรฐาน  สมุนไพรมากมายในประเทศที่กำลังพัฒนาถูกเก็บรวบรวมโดยชาวบ้าน  และซื้อขายด้วยชื่อสามัญ (common name)  ไม่มีการพิสูจน์ความถูกต้องของพืชและคุณภาพ  สมุนไพรถูกจำหน่ายในรูปทั้งต้น  เป็นชิ้นหรือบดเป็นผง  เมื่อพิจารณาถึงมาตรฐาน (standardization)  ของสมุนไพรหรือสารสกัดสมุนไพร  ก็พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องความเข้มข้นของสารที่เสดงฤทธิ์ในล็อต (lot หรือ batch) ต่างๆ ของสมุนไพรที่คาดว่าเป็นชนิดเดียวกัน  ที่สำคัญยังมีความเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสายพันธุ์

ตัวอย่างสายพันธุ์เปปเปอมินต์ (peppermint)  ที่ต่างกันจะให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยต่างกัน  แม้ว่าเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมที่มันเจริญเติบโต  และเวลาที่เก็บเกี่ยว  การเตรียมสมุนไพรก็มีผลต่อคุณภาพ  องค์ประกอบเคมีบางชนิดไม่ทนความร้อน  สมุนไพรที่มีองค์ประกอบเคมีเช่นนี้ต้องทำให้แห้งที่อุณหภูมิต่ำ  หากอบสมุนไพรให้แห้งช้าๆ  สารสำคัญที่ถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์จะคงทนอยู่ได้เป็นระยะเวลานานระยะหนึ่ง 

วิธีการประกันคุณภาพสมุนไพร  ก็คือ  การวิเคราะห์ประมาณสารสำคัญในสมุนไพร  ถ้าเราทราบสารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ในสมุนไพร  ก็สามารถแยกและวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม  แต่ถ้าไม่ทราบสารสำคัญที่แสดงฤทธิ์  หรือเห็นสารผสมที่ซับซ้อน  หรือไม่มีสารที่เป็น marker ให้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางชีวภาพ (biological analysis) ดังเช่นที่ให้วิเคราะห์ใบดิจิตาลิส  อย่างน้อยก็เห็นวิธีการขั้นต้น  เมื่อเราทราบความแรงของสมุนไพร 
ก็สามารถผสมกับตัวอย่างที่มีความแรงอ่อนหรือมากกว่า  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ตามที่กำหนด

มาตรฐานของคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นกับชื่อเสียงของผู้ผลิต  ผู้บริโภคควรซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ระบุปริมาณของสารสกัดสมุนไพรมาตรฐาน (standardized plant extract)  ควรมีฉลากที่แสดงชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพร  ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต  หมายเลยล็อต (lot หรือ batch)
ที่ผลิต  วันที่ผลิต  และวันหมดอายุ

เอกสารอ้างอิง  การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม  โดย  รศ.ดร. วีณา จิรัจฉริยากูล

 

สบู่ กับ เครื่องหมาย อย.

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

2.1 คำนิยาม

เครื่องสำอาง
คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อความสะอาดและความสวยงามเท่านั้น เช่น ครีมบำรุงผิว โลชั่นกันแดด น้ำหอม ลิปสติก แป้งฝุ่น รองพื้น แป้งทาหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ผลิตภัณฑ์ทาแก้ม แต่งตา ทาเล็บ ล้างเล็บ ตกแต่งทรงผม ระงับกลิ่นกาย สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผ้าเย็น ผ้าอนามัย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่าเพื่อความสะอาดหรือความสวยงาม เช่น อ้างว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรค ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องจัดเป็นยา ไม่ใช่เครื่องสำอาง เช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน ครีมบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง แม้ว่าจะมีการเกี่ยวโยงสรรพคุณเหล่านี้ว่านำไปสู่ความงามก็ตาม

2.2 การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หากผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป

1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือน้ำยาป้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" และมีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

2) เครื่องสำอางควบคุม
เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การกับดูแลจึงลดระดับลงมาจากการขึ้นทะเบียน เป็นเพียงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่องสำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุม"

3) เครื่องสำอางทั่วไป
ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตรายจากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน

ดังนั้น สบู่ จึงจัดอยู่ในประเภท "เครื่องสำอางทั่วไป" ผลิตในประเทศไทย ไม่ต้องขึ้นทะเบียนอาหารและยา หรือรายละเอียด เพียงแต่แสดงข้อความที่ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน


การแสดงข้อความอันจำเป็นที่ฉลากภาษาไทย

 

เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ

เครื่องสำอางควบคุม

เครื่องสำอางทั่วไป

1.

ชื่อเครื่องสำอาง

ชื่อเครื่องสำอาง

ชื่อเครื่องสำอาง

2.

ประเภทหรือชนิด

ประเภทหรือชนิด

ประเภทหรือชนิด

3.

ข้อความ
"เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ"

ข้อความ
"เครื่องสำอางควบคุม"

-

4.

เลขทะเบียนในกรอบ อย.

-

-

5.

ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมพิเศษและสารสำคัญ

ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมและสารสำคัญ

ชื่อส่วนประกอบสำคัญ

6.

- ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย
 

- ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ต้องของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย

- ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย

7.

เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต

เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต

-

8.

วันเดือนปีที่ผลิต

วันเดือนปีที่ผลิต

วันเดือนปีที่ผลิต

9.

วิธีใช้

วิธีใช้

วิธีใช้

10.

ปริมาณสุทธิ

ปริมาณสุทธิ

ปริมาณสุทธิ

11.

คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด

คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด

คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด

12.

ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1, 4 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง

ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง

ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง

2.3 การโฆษณาเครื่องสำอาง

การโฆษณาเครื่องสำอาง ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา แต่การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง
ถูกหลักวิชาการและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้

2.4 การผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง

-

เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ

ต้องขึ้นทะเบียนก่อนผลิตหรือนำเข้า

-

เครื่องสำอางควบคุม

ต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำเข้า

-

เครื่องสำอางทั่วไป

- ผลิตในประเทศไม่ต้องขึ้นทะเบียนหรือ รายละเอียด เพียงแต่แสดงข้อความที่ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
- นำเข้า ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วนและถูกต้อง ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้นำเข้า

2.5 สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
การขายเครื่องสำอาง สามารถกระทำได้โดยอิสระ ไม่ต้องขออนุญาตขายเครื่องสำอาง แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลาก ภาษาไทยและฉลากต้องแสดงข้อควาครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้

ข้อมูลข้างต้นข้างอิงจาก http://www.fda.moph.go.th/fda_economic/#cosmetics



 
© 2000-2008 CopyRight by Naraprura , Ltd., Part
Tel. 081-8485-035  Fax. 02-5262-601  Website. www.naraprura.co.th
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login