ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
สารอินทรีย์ไอระเหยหรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือเรียกทับศัพท์ตัวย่อภาษาอังกฤษว่าวีโอซี (Volatile Organic Chemicals, VOCs) คือ กลุ่มสารประกอบอินทรีย์(Organic Compounds) ที่ระเหยเป็นไอกระจายตัวไปในอากาศ ได้ในที่อุณหภูมิและความดันปกติ โมเลกุลส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจน อาจมีออกซิเจนหรือ คลอรีนร่วมด้วย สามารถระเหยเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง ในชีวิตประจ้าวันเราได้รับ VOCs จากผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น สีทาบ้าน, ควันบุหรี่, น้้ายาฟอกสี, สารตัวท้าละลายในพิมพ์, จากอู่พ่นสีรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม, น้้ายาซักแห้ง, น้้ายาส้าหรับย้อมผมและน้้ายาดัดผม, สารฆ่าแมลง, สารที่เกิดจากเผาไหม้ และปะปนในอากาศ น้้าดื่ม เครื่องดื่ม อาหาร สารอินทรีย์ ไอระเหยที่สะสมไว้มากนาน ๆ จะมีผลกระทบทางชีวภาพและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
Last Update : 16:35:10 18/08/2012
Wind Speed & Wind Direction
Brand : Met One
Model : 010C, 020C
Last Update : 16:08:06 18/08/2012
SO2 Analyser
Brand : Ecotech
Model : EC9850
Last Update : 14:35:18 18/08/2012
BENZENE / BTEX ANALYSER
Brand : Synspec BV
Model : GC955
Last Update : 14:02:50 18/08/2012
Environmental Monitoring & Control Center
Brand : SA
Last Update : 09:11:02 25/11/2011
Fence Line
Brand : Opsis
Model : AR-500
Last Update : 09:03:14 25/11/2011
Gas Detector BW Technologies
Last Update : 10:32:26 25/11/2011
Fence Line OPSIS
Last Update : 10:23:48 25/11/2011

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)

Last Update: 16:35:10 18/08/2012
Page View (1813)

สารอินทรีย์ไอระเหยหรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือเรียกทับศัพท์ตัวย่อภาษาอังกฤษว่าวีโอซี (Volatile Organic Chemicals, VOCs) คือ กลุ่มสารประกอบอินทรีย์(Organic Compounds) ที่ระเหยเป็นไอกระจายตัวไปในอากาศ ได้ในที่อุณหภูมิและความดันปกติ โมเลกุลส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจน อาจมีออกซิเจนหรือ คลอรีนร่วมด้วย สามารถระเหยเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง ในชีวิตประจ้าวันเราได้รับ VOCs จากผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น สีทาบ้าน, ควันบุหรี่, น้้ายาฟอกสี, สารตัวท้าละลายในพิมพ์, จากอู่พ่นสีรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม, น้้ายาซักแห้ง, น้้ายาส้าหรับย้อมผมและน้้ายาดัดผม, สารฆ่าแมลง, สารที่เกิดจากเผาไหม้ และปะปนในอากาศ น้้าดื่ม เครื่องดื่ม อาหาร สารอินทรีย์ ไอระเหยที่สะสมไว้มากนาน ๆ จะมีผลกระทบทางชีวภาพและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  ปัจจุบันมีการแบ่งประเภทของสารอินทรีย์ระเหยง่ายออกเป็นหลายแบบขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ และลักษณะการสื่อความหมาย โดยสามารถยกตัวอย่างการแบ่งประเภทของสารอินทรีย์ระเหยง่าย ดังนี้             

1. การแบ่งประเภทตามลักษณะของโมเลกุล  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

          1) กลุ่มที่ไม่มีธาตุคลอรีน หรือธาตุในกลุ่มฮาโลเจนเป็นส่วนประกอบในโมเลกุล (Non-Chlorinated VOCs หรือ Non-Halogenated Hydrocarbons) ซึ่งประกอบด้วยสารในกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ Hexane, Alcohol, Aldehyde, Toluene, Benzene, Ethylbenzene, Xylene, Styrene,  และ Phenol

          2) กลุ่มที่มีธาตุคลอรีน หรือธาตุในกลุ่มฮาโลเจนเป็นส่วนประกอบในโมเลกุล Chlorinated VOCs หรือ Halogenated Hydrocarbons ซึ่งมักเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ใช้ในอุตสาหกรรม และโดยทั่วไปมีความเป็นพิษมากกว่าและเสถียรตัวในสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารกลุ่มที่ไม่มีธาตุคลอรีนในโมเลกุล เพราะมีโครงสร้างที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนและธาตุฮาโลเจนที่ทนทานมาก ยากต่อการสลายตัวในธรรมชาติ ทางชีวภาพ ทางกายภาพ  หรือโดยทางเคมีทั่วไป มีความคงตัวสูงและ สะสมได้นาน สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ Tricholoroethylene (TCE), 1,1,1-Tricholoroethane,  Tetrachloroethylene, Perchloroethylene(PCE) สำหรับในกลุ่มนี้โดยเฉพาะสาร Trichloroethylene (TCE) เป็นสารตัวทำละลายในน้ำยาซักแห้ง น้ำยาละลายคราบน้ำมัน หรือคราบไขมัน และเรซินต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม สำหรับสาร TCE ซึ่งเป็นน้ำยาซักแห้งและใช้มากในกลุ่มร้านซักรีด ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เปิดให้บริการอยู่ทั่วไป  ดังตัวอย่างของสารอินทรีย์ระเหยที่พบได้ในสิ่งแวดล้อม ชนิด Halogenated Hydrocarbons

2. การแบ่งประเภทตามลักษณะของโครงสร้าง  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

          1) กลุ่มอะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic Hydrocarbons)  หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีคาร์บอนอะตอมต่อกันเป็นสายโซ่เปิด อาจจะต่อกันเป็นสายยาวไม่มีกิ่ง เรียกว่า โซ่ตรง หรือต่อกับคาร์บอนในสายยาว เรียกว่า โซ่กิ่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามชนิดของพันธะ เช่น สารเฮกเซน (Hexane)

          2) กลุ่มอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Aromatic Hydrocarbons) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยวงเบนซินตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป จัดเรียงเป็นเส้นตรง เป็นมุม หรือเป็นกลุ่ม มีเฉพาะอะตอมของไฮโดรเจนและคาร์บอน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำ เช่น สารเบนซิน (Benzene) สารโทลูอีน (Toluene) และสารไซลีน (Xylenes)

          3) กลุ่มออกซิเจน (Oxygenated) หมายถึง สารที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น  สารอะซิโตน (Acetone) และสารคีโตน (Ketones)

ตัวอย่างของ Halogenated Hydrocarbons ที่พบได้ในสิ่งแวดล้อม

ลำดับ ชื่อสาร  VOCs ลำดับ ชื่อสาร  VOCs
1) 1,1,1,2-Tetrachloroethane 25) Cis-1,2-Dichloroethylene
2) 1,1,1-Trichloroethane 26) Cis-1,3-Dichloropropene
3) 1,1,2,2-Tetrachloroethane 27) Dibromochloropropane
4) 1,1,2-Tetrachloroethane 28) Dibromomethane
5) 1,1-Dichloroethane 29) Dichlorobromomethane
6) 1,1-Dichloroethylene 30) Dichloromethane (DCM)
7) 1,2,2-Trifluoroethane(Freon 113) 31) Ethylene Dibromide
8) 1,2-Dichloroethane 32) Fluorotrichloromethane  (Freon11)
9) 1,2-Dichloropropane 33) Glycerol Trichlorohydrin
10) 1,2-Trans-Dichloroethylene 34)

 

Hexachlorobutadiene
11) 1,3-Cis-Dichloro-1-Propene 35) Hexachlorocyclopentadiene
12) 1,3-Trans – Dichloropropene 36) Hexachloroethane
13) 1-Chloro-2-Propene 37) Methylene Chloride
14) 2-Butylene Dichloride 38) Neoprene
15) Acetylene Tetrachloride 39) Pentachloroethane
16) Bromodichloromethane 40) Perchloroethylene
17) Bromoform 41) Propylene Dichloride
18) Bromomethane 42) Trichlorotrifluoroethane
19) Carbon Tetrachloride 43) Monochlorobenzene
20) Chlorodibromomethane 44) Tetrachloroethylene    (Perchloroethylene) (PCE)
21) Chloroethane 45) Trichloroethylene (TCE)
22) Chloroform 46) Vinyl Chloride
23) Chloromethane 47) Vinyl Trichloride
24) Chloropropane 48) Vinylidene Chloride

ที่มา : เข้าถึง http://monitor.onep.go.th/document/voc.htm  ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2552


แหล่งกำเนิดของสารอินทรีย์ระเหยง่าย

          แหล่งกำเนิดทั่วไปของสารวีโอซี ประกอบด้วย

  1.                     แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ ซึ่งได้แก่ สารวีโอซีที่มีการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ปั้มน้ำมัน การเกษตรกรรม สำนักงาน และชุมชน                    
  2.                     แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ ยกตัวอย่างเช่น การระบายสารมลพิษจากยานพาหนะ                     การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น                    
  3.                     แหล่งกำเนิดเชิงพื้นที่ ได้แก่ สารฆ่าแมลงในการทำการเกษตร และสารเคมีที่มาจากบ้านเรือน                    

การควบคุมเพื่อลดการระบายสารวีโอซี

          หลักการทั่วไปในการควบคุมเพื่อลดการระบายสารวีโอซี สำหรับกิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ควรมุ่งเน้นหลักการของเทคโนโลยีสะอาด และการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งควรสอดคล้องกับขนาดของอุตสาหกรรม จำนวนเงินลงทุน ศักยภาพในการระบายสารวีโอซี และความพร้อมของผู้ประกอบการต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามหลักการควบคุมดังกล่าว

          การควบคุมการระบายสารวีโอซี ประกอบด้วย การลดการระบายสารวีโอซีจากแหล่งกำเนิด การบริหารจัดการ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การลดการระบายสารวีโอซีจากแหล่งกำเนิด สามารถปฏิบัติได้โดย                   
      • การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ที่มีการระบายสารวีโอซี  เช่น การปรับเปลี่ยนวัสดุ/อุปกรณ์ที่บรรจุสารเคมีที่ช่วยลดการระบายสารวีโอซี  การใช้สารทดแทนที่มีความเป็นพิษน้อยลง และการใช้สารเคมีผสมสำเร็จรูป/ลดขั้นตอนการผสมสารเคมี
      • การปรับปรุงเทคโนโลยี/เครื่องจักร หรือการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย เพื่อลดการระเหยของสารวีโอซี และเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิต หรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
      • การใช้ระบบบำบัดสารวีโอซีอย่างง่าย เพื่อควบคุมสารระบายสารวีโอซีจากอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยตัวอย่างระบบบำบัดสารวีโอซี ที่เหมาะสม เช่น ระบบดูดซับด้วยผงถ่านกัมมันต์ การใช้ม่านน้ำ หรือใยมะพร้าวดูดซับสารวีโอซี เป็นต้น

     

  2. การบริหารจัดการ  เป็นการวางแผน และการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิตให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและลดการระบายสารวีโอซี  ได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถปฏิบัติได้โดย                    
      • การจัดการที่ดี โดยการจัดเก็บสารเคมีและกากของเสียตามมาตรฐานเพื่อลดการระบายสารวีโอซี สู่สิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของสารวีโอซี เป็นต้น
      • การปฏิบัติที่ดี โดยการกำหนดวิธีการและขั้นตอนปฏิบัติตามมาตรฐาน การกำหนดพื้นที่การปฏิบัติงานให้อยู่ในระยะปลอดภัย เพื่อป้องกันการได้รับสัมผัสสารวีโอซีของผู้ปฏิบัติงาน การให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น สวมใส่หน้ากากและถุงมือป้องกันมลพิษเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งจากการสูดดมและจากการสัมผัส  การลดจุดเก็บรักษาสารเคมี การลดจุดทิ้งกากของเสีย การคัดแยกกากของเสีย และส่งกำจัดตามประเภทของเสีย โดยพนักงานควรมีพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและเป็นสัดส่วน

     

  3. การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่   เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวน การผลิต ซึ่งสามารถปฏิบัติได้โดย                   
    • การใช้ซ้ำ เช่น การใช้อุปกรณ์หมุนเวียน เป็นต้น
    • การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น  การนำสารเคมีหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เป็นต้น

ผลกระทบต่อสุขภาพ

         สาร VOCs สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ สัมผัสทางการหายใจ การกิน หรือกลืนเข้าไป และการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งผลกระทบของสารอินทรีย์ระเหยต่อสุขภาพมีหลายด้านขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารอินทรีย์ระเหยนั้นๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการกดประสาทหลายอย่าง ได้แก่ การง่วงนอน วิงเวียน ปวดศีรษะ ซึมเศร้า หรือหมดสติได้ เมื่อสูดหายใจเข้าไปจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจเกิดการอักเสบของเยื่อเมือก และทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังและตา ถ้าได้รับสารชนิดนี้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน จะเป็นอันตรายต่อตับและไต สารอินทรีย์ระเหยบางชนิด อาจมีผลต่อระบบพันธุกรรม ระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ และระบบประสาท และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เป็นต้น



ดาวโหลดไฟล์แนบ : ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ
 
© 2000-2008 CopyRight by Sithiphorn Associates Co.,Ltd.
Tel. 02-433-8331  Fax. 02-433-1679  Website. www.sithiphorn.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login