Pair-Colour code according to DIN 47100
Electronic control and computer cable : Pair standing
Last Update : 15:21:27 03/07/2014
Colour code according to DIN 47100
Electronic control and computer cable : Single cores stranding
Last Update : 15:08:04 03/07/2014
หลอดอบเด็ก Deeb Blue
Brand : TOSHIBA
Model : FL18W/T8/D8
ลอดสีฟ้าเข้ม ( Deep Blue) คุณสมบัติพิเศษ หลอดสีฟ้าเข้ม ใช้กับเครื่องส่องไฟสำหรับการรักษาโรคภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Phototherapy lamp) เพื่อทดแทนหลอดนำเข้าซึ่งมีราคาสูง มีขนาด 18 วัตต์ หลอดสีน้ำเงินเข้มพิเศษให้ความยาวคลื่นแสง 450 นาโนเมตร
Last Update : 10:36:10 02/03/2015
J-H(St)H
J-H(St)H Bd Fire Warning Installation Cable,halogen-free
Last Update : 13:26:39 04/07/2014
VAF
VAF 300V 70?C PVC INSULATED AND SHEATHED FLAT TYPE CABLE STRUCTURE สายไฟชนิดตัวนำทองแดง/สายไฟแรงต่ำใช้ภายในอาคาร
Last Update : 11:36:06 04/07/2014
สายคอนโทรลแกนเดียวฝอย VSF
300V 70?C PVC INSULATED FLEXIBLE CONDUCTOR, SINGLE CORE CABLE STRUCTURE สายไฟชนิดตัวนำทองแดง/สายคอนโทรลและสายอ่อน
Last Update : 10:13:42 04/07/2014
H05V-K/H07V-K สายคอนโทรลแกนฝอน
H05V-U-K สายไฟชนิดอ่อนใช้เชื่อมภายในของอุปกรณ์ หรือภายในอุปกรณ์แสงสว่าง ระบบสัญญาณ H07V-U-K สายไฟแกนเดียวหุ้มพีวีซี ใช้เชื่อมภายใน สวิตชิ่งและดิสทริบิวเตอร์
Last Update : 10:11:22 04/07/2014

Page View  1679 
News


ข้อแนะนำในการควบคุมงานก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน
Date Time : 01/07/2014 - 31/07/2014
 
 

 

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในงานก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน คือ

  1. การวางแผ่นคอนกรีต ให้มีระยะห่างกัน 2.00 เมตร ส่วนบริเวณที่มีการต่อท่อให้วางแผ่นคอนกรีตห่างกัน 60 ซม.
  2. ต้องปูแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนวท่อ และวางเทปเตือนอันตรายที่ระดับเหนือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก
  3. ในบริเวณชุมชนหรือตัวเมืองให้ติดตั้งหลักบอกแนวสายเคเบิลใต้ดิน

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบฝังดินโดยตรง

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในงานก่อสร้างแบบฝังดินโดยตรง คือ

  1. พื้นที่ท้องร่อง ต้องได้ระดับมากที่สุด และต้องใส่ทรายอัดแน่นลงไปในแนวร่องหนา 15 ซม. ตลอดแนว โดยทรายต้องไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ เช่น เศษหิน เศษแก้ว หรือสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสายเคเบิล
  2. การวางสายเคเบิลใต้ดินต้องวางให้สายแต่ละเส้นห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของสายเคเบิลใต้ดิน
  3. ต้องปูแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนวสาย และวางเทปเตือนอันตรายที่ระดับเหนือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก
  4. ในบริเวณชุมชนหรือตัวเมืองให้ติดตั้งหลักบอกแนวสายเคเบิลใต้ดิน

การเตรียมงานสำหรับดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน

ถึงแม่ว่าในการปฏิบัติงานจะมีเครื่องมือและเทคนิคมากมายหลายอย่าง ซึ่งจะช่วยในการวางสายเคเบิลใต้ดินได้มา แต่ถ้าหาปราศจากการเตรียมการที่ดีพอ การปฏิบัติงานก็อาจจะไม่สามารถดำเนินงานได้สะดวก ปัญหามากมายย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นแก่สายเคเบิลใต้ดิน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้สัญจรผ่านไปมา การเตรียมการที่ดีย่อมหมายถึงการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดการใช้เครื่องมือเกินความจำเป็น และสามารถนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างเหมาะสาม รวมถึงลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ ลักษณะของงานติดตั้งสายเคเบิลใต้ดินที่อยู่ในตัวเมือง ซึ่งมีปัญหาการจราจรติดขัด จะต้องมีการวางแผน และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ในการเตรียมการจึงควรที่จะไปสำรวจตำแหน่งสถานที่ ที่จะปฏิบัติงานก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง

การตรวจสอบท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดิน

ก่อนที่จะร้อยสายเคเบิลใต้ดิน ต้องตรวจสอบท่อร้อยสายก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าท่อไม่ตันและไม่มีสิ่งกีดขวาง ซึ่งอาจจะทำให้สายเคเบิลใต้ดินชำรุดเสียหาย เป็นอุปสรรในการร้อยสาย หากต่อกันไม่สนิทหรือเหลื่อมล้ำกันอยู่จะทำให้น้ำปูน หรือเศษทรายและดิน เข้าไปในท่อได้ ซึ่งทำให้เกิดการติดขัดหรือชำรุดเสียหายต่อสายเคเบิล

จากหนังสือคู่มือความปลอดภัยด้านไฟฟ้าแรงสูง

แนะนำ โคมไฟทางเดิน

This entry was posted on เมษายน 30, 2014 and tagged .แสดงความคิดเห็น

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ในการปฏิบัติงานต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือ นำวัตถุนำใดๆ เข้าใกล้ส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าค่าระยะปลอดภัยต่ำสุด  ยกเว้นกรณีมีสิ่งกันที่เหมาะสม สำหรับการทำงานที่มีระยะปลอดภัยน้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุด รวมถึงการติดตั้งและรื้อถอนสิ่งกัน สามารถทำได้โดย

  1. ใช้สิ่งกันที่เพียงพอ
  2. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใช้กับงานที่มีไฟฟ้า
  3. มีระยะห่างที่เหมาะสม

วัตถุตัวนำ เช่น ฮาร์ดแวร์ที่รองรับลูกถ้วย ที่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุด อาจจะสัมผัสกับผิวสัมผัสภายนอกของสิ่งกั้นที่ทำให้เกิดระยะปลอดภัยต่ำสุดกรณีมีสิ่งกันได้ อย่างไรก็ตาม วัตถุนั้นๆ ต้องติดตั้งอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการออกแบบ และต้องติดตั้งในลักษณะที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือมีการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ซึ่งไม่ทำให้ระยะห่างที่ออกแบบไว้มีค่าลดลง

ห้ามเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลัง หรือ โหลด เข้าใกล้วงจรที่มีไฟฟ้า เกินกว่า 4.6 เมตร ยกเว้นเมื่อมีการกำกับดูแลของผู้สังเกตการณ์ความปลอดภัย ระยะปลอดภัยอาจมีค่าน้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุดได้ เมื่อวงจรไม่มีไฟฟ้า และต้องดำเนินการติดตั้งป้ายเตือน ติดตั้งระบบต่อลงดิน และมีสิ่งกันเพียงพอ

ระยะปลอดภัยของโครงสร้างรับน้ำหนักจากวัตถุอื่นๆ

โครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนักและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติด ที่ใช้ยึด จะต้องมีระยะปลอดภัยจากวัตถุอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  1. จาก หัวฉีดน้ำดับเพลิง ระยะปลอดภัยต้องไม่น้อยกว่า 0.9 เมตรกรณ๊มีพื้นที่เพียงพอควรไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร
  2. จากถนน ซอย และทางหลวง

-          ถนนที่มีของทางแบบ Redirectional และ Swale-type  จะต้องมีระยะห่างที่เพียงพอจากขอบถนน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสจากยานพาหนะทั่วไปหรือจอดอยู่บริเวณผิวถนนต้องมีระยะสูง จนถึง 4.6 เมต

-          ถนนที่ไม่มีของทาง โครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนักหรืออุปกรณ์อื่นๆที่ติดอยู่จะต้องมีระยะห่างเพียงพอจากขอบถนน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสจากยานพานะทั่วไปที่ใช้หรือจอดอยู่บนผิวถนน

  1. จากรางรถไฟฟ้า เมื่อทางรถไฟขนานหรือตัดผ่านสายส่งแบบสายอากาศ ทุกส่วนของโครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนัก สายยึดโยง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดอยู่กับโครงสร้างนั้น มีระยะความสูง 6.70 เมตรเหนือรางรถไฟ

ข้อยกเว้น

-          ระยะปลอดภัยที่ไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร อาจจะสามารถยินยอมได้ กรณีโครงสร้างรับน้ำหนัก ไม่เป็นอุปสรรคในการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีระยะเพียงพอสำหรับทางรถยนต์ในกรณีขนส่งของขึ้นหรือลง

-          บริเวณย่านอุตสาหกรรม อนุญาตให้ใช้ระยะปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร แต่ต้องจัดให้มีระยะห่างเพียงพอสำหรับรถในการขนส่งของขึ้นลง

แนะนำ โคมไฟภายนอก


© 2000-2008 CopyRight by T.S.C. Supply Co.,Ltd.
Tel. 02-7098388  Fax. 02-7099038  Website. www.thailandsupply.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login