แผงแขวนซองเมล็ดพันธุ์พืช
Brand : SHOP & SHELF
Model : SS 01
Last Update : 16:37:50 11/06/2012
ชั้นวางสินค้าร้านซีดี
Model : CD 14.2
ชั้นวางสินค้าร้านซีดี ขนาดถาดลึก 14.2 cm.
Last Update : 16:18:18 11/06/2012
กระบะจัดรายการ Promotion
Brand : Shop and Shelf
Model : CP 01
Last Update : 14:35:06 11/06/2012
กระบะจัดรายการซีดี
Brand : SHOP&SHELF
Model : CD 01
กระบะจัดรายการซีดี ขนาด 50x100 cm
Last Update : 12:11:39 24/05/2012

Page View  1487 
News


คุยกันกับคนทำร้าน : SMEs ตีไม่แตก
 
 

นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ฉบับที่ 270

ทุกเช้าผมมีภารกิจต้องขับรถ ส่งลูก 4 คนไปโรงเรียน ระหว่างทางก็พูดคุยกันตามประสาพ่อลูก ทั้งเรื่องเรียน เรื่องเพื่อน เรื่องใน facebook เรื่องที่เป็นกระแสในเวลานั้น วันหนึ่งลูกสาวคนโต ถามผมว่า " พ่อค่ะ ทำไมคนที่ไปออกรายการ sme ถึงตีไม่แตก ตีไม่แตกแล้วไปออกรายการทำไม " ลูกชายคนเล็ก ชิงตอบตามประสาเด็กว่า " ก็หัวมันแข็งไง เลยตีไม่แตก " ส่วนขาไม่โหดอย่างผม ได้แต่เงียบ พอให้เด็กๆได้ถกเถียงออกความเห็นกัน ฟังเด็กๆถกเถียงกันได้พักเล็ก ทำให้ผมนึกถึงบทความบทความหนึ่งที่เขียนโดย คุณสรรค์ชัย ประเสริฐกุล คุณสรรค์ชัย เขียนไว้อย่างน่าตกใจว่า

 จากการวิจัยกิจการธุรกิจทั่วโลกและในประเทศไทยพบว่า

ทุก 3 นาที จะมีกิจการทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ต้องเลิกกิจการ

ทุก 15 นาที จะมีกิจการเปลี่ยนมือ อย่างน้อย 1 แห่ง

80% ของกิจการที่เปิดดำเนินการใหม่ ต้องเลิกกิจการภายใน 2 ปี

96% ของกิจการไม่สามารถยืนระยะอยู่ได้ เกินกว่า 10 ปี

74% ของผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้าที่ออกใหม่ ทั้งทั้งที่ไม่ได้นิยมชมชอบมาก่อน

50% ของสินค้าที่ออกใหม่ในแต่ละวัน ไปไม่รอด

โอ้แม่เจ้า....ตัวเลขอะไรจะน่ากลัวโหดร้ายปานนั้น

แต่โดยส่วนตัวผมแล้ว กลับไม่แปลกใจอะไรมาก

เพราะอะไรหรือครับ

ก็เพราะผมและกิจการของผม ก็คือส่วนหนึ่งในเปอร์เซนต์ส่วนใหญ่ของงานวิจัยนั้น

แล้วสาเหตุ กับ เหตุผล ล่ะ

เพราะทุกวันมีปริมาณสินค้าที่ออกใหม่จำนวนมาก สินค้าทุกรายการที่ออกใหม่ก็พยายามสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง ในทุกรูปแบบ ทั้งโฆษณาที่โดนๆ ประชาสัมพันธ์ที่แม่นๆ ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทาง ในปริมาณมหาศาล เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้ก่อน ได้ต่อเนื่องและได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะช่องทางการสื่อสารที่เป็น online ส่งผลกระทบให้มีปริมาณ message ,content ขนาดก้อนมหีมา ทะลักทะลวง เข้าไปนำเสนอ ทั้งในแบบที่เต็มใจนำเสนอ และ แบบจงใจยัดเยียดมา สินค้าใดไม่มีความสามารถในการสร้างความน่าสนใจได้ ก็ล้มหายตายจากไป ดังนั้นจำนวนตัวเลขของเปอร์เซนต์ที่สูงๆ ถึงน่ากลัว น่าตกใจ ก็ยังไม่เทียบเท่ากับอัตราการขยายตัวของความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วันหนึ่งข้างหน้าตัวเลขของงานวิจัยอาจจะเปลี่ยนไปว่า

" มีกิจการทั้งเล็กและใหญ่ ต้องเลิกกิจการในทุก 1 นาที ก็เป็นได้ "

" เจ๊ง...เร็วยิ่งกว่าบะหมี่สำเร็จรูปจะต้มสุกเสียอีก "

แล้ววันนี้ ท่านเจ้าของร้าน ผู้ประกอบการ หาเช้ากินค่ำ อย่างเราๆ จะทำเยี่ยงใดกันดี

เรามาลำดับ...เหตุผลที่เราท่านคุ้นชินกันมาก่อน

ข้อที่ 1 ขาดเงินทุน ไม่มีหลักทรัพย์ กู้ bank ไม่ได้

ถ้ามองเหตุผลนี้อย่างง่ายๆ ก็แปลความได้ว่า กิจการที่มีเงินทุน กู้ bank ได้ ก็มีโอกาสที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า

ครับ...เป็นเหตุผลที่ถูก แต่ไม่เสมอไป

เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น เราคงไม่เห็นหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ธนาคารยึดมา ออกติดโชว์ประจานความล้มเหลว ขายทอดตลาด กันอย่างกลาดเกลื่อน กระผมเองไม่ได้มีทัศนคติที่เป็นลบกับการกู้เงิน เพราะผมเห็นนักธุรกิจ เจ้าของร้าน ทุกท่านยิ้ม ดีใจ ตื่นเต้น เมื่อธนาคารอนุมัติเงินกู้ให้ และกระผมเองก็ไม่ได้บอกว่าไม่ควรกู้เงินมาทำธุรกิจ และ ไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่กู้เงินมาทำธุรกิจ แล้วจะทำธุรกิจประสบความสำเร็จไม่ได้ แต่กำลังบอกว่า การกู้เงินมาทำธุรกิจโดยขาดความระมัดระวัง เป็นการเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจ และหนึ่งโอกาสในการทำให้ธุรกิจประสบความล้มเหลวได้ง่าย

ข้อที่ 2 ขาดบุคลากร ขาดตลาดรองรับ

ข้อ 3 ขาด know how ขาด technology

ข้อ 4 ขาดกติการการแข่งขันที่เป็นธรรม

ข้อ 5 , 6 ....

ผมเชื่อของผมเอง ในทุกเหตุผลที่เราคุ้นชินกัน สามารถเลือกได้ว่าจะทำ หรือ ไม่ทำ จะยอมรับ หรือ ไม่ยอมรับ บนความล้มเหลวซ้ำซาก สามารถเปลี่ยนเป็นความสำเร็จเล็กๆ อย่างเรียบง่ายได้ กราบเรียนท่านผู้อ่าน อย่างอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างนี้นะครับ

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการใหม่ที่เริ่มต้นดำเนินการ

จากเดิม เป้าหมายแรก คือ...

ผลกำไรและการเติบโต  ( profit and growth )

เปลี่ยนเป็น

ความอยู่รอดและต้องอยู่ให้รอด ( survive before profit )

เพราะการเปลี่ยนเป้าหมาย จะทำให้ positioning ของการทำงานในกิจการเปลี่ยนวิธีการไป จากเดิมทุกกิจกรรมของกิจการเพื่อผลกำไรเป็นอันดับแรกหลายต่อหลายกิจการ เมื่อกิจการมีผลกำไร ก็คิดถึงการขยายกิจการ คิดถึงการกู้เงินเพิ่ม ทั้งๆที่เงินกู้เดิมก็ยังชำระไม่หมด แต่ถ้าเป้าหมายของกิจการเป็นความอยู่รอด เมื่อกิจการมีผลกำไร ต้องนำผลกำไรที่เกิดขึ้นมาชำระหนี้เงินกู้ เพื่อลดความเสี่ยงของการอยู่ไม่รอดให้ลดลง

ชัดเจน ต้องชัดเจนในสิ่งที่ชัดเจน

และต้องชัดเจนในสิ่งที่ไม่ชัดเจน

ต้อง focus ให้ชัดว่า ใคร คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา

ต้อง focus ให้ชัดว่า ผลิตภัณฑ์ใด คือ ผลิตภัณฑ์เป้าหมายของเรา

ต้อง focus ให้ชัดว่า ความอยู่รอด เป็นเป้าหมายอันดับแรกของเรา ไม่ใช่ ผลกำไร

การ focus ให้ชัดเจน เปรียบเสมือนการกำหนดขอบเขตเส้นรอบวงของกิจการ ไม่ให้มีขนาดที่ใหญ่จนเกินไป คำว่า ไม่ใหญ่จนเกินไป กระผมหมายความว่าไม่ใหญ่เกินกว่ากำลังของท่านจะดูแล เพราะการสร้างองค์ประกอบรอบตัวของกิจการให้มีขนาดใหญ่จนเกินไป ทำให้กิจการเชื่องช้า ไม่คล่องตัว การเคลื่อนไหวที่ช้าลง ไม่คล่องตัว เนื่องจากวงที่ใหญ่ ทำให้กิจการขนาดกลางขนาดเล็ก ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วในทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการอยู่ไม่รอดให้เพิ่มขึ้น อีกตรรกที่ซ่อนตัวในความหมายของ focus คือ จำนวนเวลาที่เหลืออยู่ เราจะสังเกตเห็นว่าในช่วงเวลาของการขยายกิจการ ในช่วงเวลาของการขยายตลาด ในช่วงเวลาของการเติบโต เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มีเวลาที่เหลือให้ตัวเองน้อยลง ไม่ว่างติดประชุม ต้องเดินไปต่างประเทศ ทั้งๆที่เพิ่งเดินทางกลับจากอีกประเทศหนึ่ง การไม่มีเวลา

...ทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลกิจการลดลง

...ทำให้ความเข้มข้นของการ focus เป้าหมายลดลง

...ทำให้มีปริมาณปัญหาที่ยังไม่ได้การแก้ไขเพิ่มขึ้น

...ทำให้ความรอบคอบการดำเนินธุรกิจลดลง

...ทำให้โอกาสของการอยู่รอดลดลง

...ดังนั้น เวลาของการเจ้าของกิจการ ก็คือเครื่องชี้วัดความชัดเจนตัวหนึ่งของกิจการ ว่าจะอยู่รอด หรืออยู่ไม่รอด หากอยู่รอด โอกาสในการทำผลกำไรต้องมีแน่นอน แต่หากอยู่ไม่รอด แม้แต่โอกาสในการทำผลขาดทุนก็ไม่มี

เมื่อเป้าหมายเริ่มต้นถูกกำหนดให้แตกต่าง สินค้า ,บริการ การดำเนินการทั้งหมด ก็ควรถูกกำหนดให้แตกต่างด้วยเช่นเดียวกัน

1% ของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าเรา ตายจากหายไป

3% ของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าเรา ย้ายที่อยู่ใหม่

9% ของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าเรา ไปซื้อสินค้าของคู่แข่ง

14% ของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าเรา เลิกซื้อ เพราะราคาสินค้าเราแพงเกินไป

68% ของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าเรา เลิกซื้อเพราะสามารถซื้อสินค้าจากผู้ขายรายใดก็ได้ เนื่องจากสินค้าและบริการ ไม่มีความแตกต่างกัน

หาก SMEs มีอัตราการสูญเสียลูกค้าเก่า 30% ต่อปี

โอกาสในการรักษาฐานลูกค้าเก่าของท่าน จะเท่ากับ 70% ของ 68% หรือเท่ากับ 47.60% ซึ่งไม่เพียงพอต่อความอยู่รอด ท่านต้องสร้างความแตกต่างทุกวิถีทาง เพื่อแย่งชิง 70% ของ 9% มา หรือเท่ากับ 6.30% ซึ่งรวมกันแล้วจะเป็น 47.60% + 6.30% = 53.90% หากท่านสามารถทำได้เพียงครึ่งเดียว โอกาสความอยู่รอดของกิจการท่าน จะเหลือเพียง 47.60 + 3.15 = 50.75% รอดเส้นยาแดงแบบฉิวเฉียดส่วนอีก 49.25% ที่เหลืออยู่ที่การสร้างความแตกต่างเพื่อหาลูกค้ารายใหม่ ดังนั้นท่านควรที่จะแตกต่างตั้งแต่เริ่มต้น และต่อเนื่อง อย่างชัดเจน

สำหรับผมแล้ว...3 ข้อนี้

เป็นการสร้างธุรกิจให้เรียบง่าย ถึงแม้ไม่ใหญ่โต แต่สามารถอยู่รอดได้ เจ้าของธุรกิจมีเวลา และ มีความสุขอย่างพอเพียง ในกำลังที่สามารถดูแลได้จะได้เป็นส่วนน้อย ในเปอร์เซนต์ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จได้

" SMEs ทุกท่าน รู้ตัวดีว่าต้องตีให้แตก "


© 2000-2008 CopyRight by shop&shelfthail
Tel. 028654052  Fax. 028654052  Website. www.shopshelfthai.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login