|
Your Account
|
Help
บริษัท ยูโร สแกน จำกัด
EUROSCAN CO.,LTD.
 Back to home
Post News  :    โรคฮิตของคนทำงาน ?Office Symdrome?

   Office Symdrom เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ หรือ สำนักงาน ที่ต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้น อาการของโรคเกิดจากลักษณะการทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือ มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางเดิม ๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน  หรือ การนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ จนส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบกระดูก , กล้ามเนื้อ หรือ ระบบการย่อยอาหาร และในบางรายไม่ได้เป็นแค่ Office Symdrome แต่เป็นถึงกับชาครึ่งตัวไปเลยทีเดียว สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดจาก "อันตรายของการนั่งผิดท่า และอันตราของการนั่งนานโดยไม่มีการขยับร่างกาย" ซึ่งการนั่งผิดท่าและไม่มีการขยับร่างกายนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  1. โรคหัวใจ – จากการนั่งที่ไม่การขยับร่างกายทำให้การเผาผลาญไขมันต่ำลง จนไขมันไปเกาะหลอดเลือดและเกิดเส้นเลือดหัวใจอุดตัน
  2. โรคเบาหวาน – เกิดจากการที่ไม่มีการขยับร่างกาย ทำงานในท่านั่งเดิม ๆ  ทำให้กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ขยับจะไม่ตอบรับกับอินซูลินที่ถูกสร้าง เป็นสาเหตุให้ตับอ่อนทำการสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดอาการของโรคเบาหวาน
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่ – จากการศึกษาพบว่าการนั่งทำงานนาน ๆ ไม่มีการขยับร่างกายเป็นสาเหตุของมะเร็ง
  4. สมองทำงานช้าลง – การขยับร่างกายทำจะทำให้เลือดมีการไหลเวียนผ่านสมองมากขึ้น แต่คนที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ และไม่มีการขยับร่างกายเลยเลือดก็จะไหลเวียนไม่ดี ทำให้การสั่งการของสมองช้าลง
  5. กระดูกสันหลังส่วนคอตึง – เพราะการขยับหัวไปมาระหว่างนั่งทำงานเพื่อคลายกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระดูกคอตึง ยิ่งถ้ามีการทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ จะยิ่งทำให้กระดูกคอมีปัญหาถาวร
  6. อาการปวดหลังและไหล่ – อาการเบื้องต้นของคนที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ หรือมีการนั่งผิดท่า เป็นระยะเวลานาน จะมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อส่วน Trapezius ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อระหว่างคอ บ่า ไหล่ และ สะบัก
  7. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท - สาเหตุของอาการเกิดจากการที่ Disk เคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทตามแนวกระดูกสันหลัง อาการนี้เกิดจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือชา แล้วแต่ว่าหมอนรองกระดูกไปทับเส้นประสาทตรงไหน
  8. กระดูกสันหลังคด – คนที่นั่งผิดท่า หรือ ชอบนั่งหลังงอ เพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า การนั่งหลังงออย่างต่อเนื่องเป็นนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการกระดูกสันหลังคด
  9. กล้ามเนื้อต้นขาตึง – เกิดจากการนั่งทำงานที่ไม่มีการขยับร่างกาย ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อต้นขาตึงขึ้นเรื่อย ๆ และจะทำให้การขยับเคลื่อนขาก็ทำได้ยากขึ้น

     10.กล้ามเนื้อแก้มก้นอ่อนแรง - การนั่งทำให้กล้ามเนื้อแก้มก้นไม่ต้องทำงาน จนมันคุ้นชินกับสภาพนั้น ฟังดูไม่มีอะไร แต่ความจริงแล้วมันจะส่งผลต่อการเดินและออกตัวด้วย

     11.เส้นเลือดขอด – เมื่อนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ นาน ๆ และไม่มีการขยับร่างกาย เลือดก็จะไม่ไหลเวียนลงในที่ขา ทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มและเกิดเป็นเส้นเลือดขอดที่ขา

     12.โรคกระดูกพรุน – การนั่งนาน ๆ จะทำให้กระดูกเสื่อมลงจนเกิดกระดูกพรุน เพราะไม่มีการขยับ

      ดังนั้นเมื่อการนั่งทำงาน เป็นส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ตามมาหลากหลายโรค    จึงควรใส่ใจในการนั่งทำงานให้ถูกต้องและมีการขยับบ้างบางครั้งในระหว่างวัน เพื่อสุขภาพที่ดีในการนั่ง จึงมีวิธีป้องกันมาฝาก เริ่มตั้งแต่

     1) การนั่งให้ถูกท่า - นั่งให้หลังตรง ห้ามชะเง้อคอ ตั้งแขนให้ตรง ทำไหล่ให้สบาย หากทำไม่ได้ ให้หาตัวช่วยในการนั่งมา ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้ หรือ เบาะรองเพื่อสุขภาพ ex-gel  นั่งที่ช่วยในการปรับสรีระในการนั่งให้ถูกท่า

     2) การหาที่รองนั่ง– การนั่งบนอะไรนิ่มๆ อาทิ เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ หรือ  เบาะรองนั่ง ex-gel  จะช่วยบังคับให้กล้ามเนื้อไม่มีการกดทับ เพื่อความยืดหยุ่นให้กับการนั่ง และปรับสรีระการนั่งให้ถูกต้อง

     3) การยืดกล้ามเนื้อต้นขา – ควรมีการยืดกล้ามเนื้อต้นขาทุกวัน วันละ 3 นาที จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขามีการผ่อนคลายความตึงลง

     4) การขยับร่างกายด้วย การลุกขึ้นยืน หรือ เดิน – การลุกขึ้นจากการนั่งอย่างน้อยทุก ๆ  30 นาที จะเป็นการขยับเพื่อช่วยในการไหลเวียนของเลือด และ ช่วยในการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อในทุกส่วน

     5) การออกกำลังกายการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และ สม่ำเสมอจะช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดดีขึ้น คลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่ายกาย ทำให้สุขภาพดีขึ้น

     หลักจากที่ใช้งานร่างกายอย่างหนักหน่วงเพื่ออนาคตแล้ว ก็ต้องกลับมาดูแล และป้องกันสุขภาพร่างกายด้วย ในเมื่อรู้ว่าการกระทำนั้น ๆ จะเป็นสาเหตุต่าง ๆ ของโรคร้ายแรงที่ตามมาเราควรที่จะหลีกเลี่ยง ดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

 
Back